ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 163
ความสำคัญ ทำความเลื่อมใสแห่งจิตให้แจ้งออกมาทางกายบ้าง ทาง
วาจาบ้าง ฟังธรรม สำหรับลางคน มโนสมาจารอย่างเดียวเป็นส่วน
ที่เรียบร้อยดังนี้ (แต่) กายสมาจารและวจีสมาจาร ไม่เรียบร้อย พระ
โยคาวจรก็อย่าคิดถึงกายสมาจารและวจีสมาจารของเขานั้น ระลึกถึง
ความเรียบร้อยแห่งมโนสมาจาร (ของเขา) แต่อย่างเดียวเถิด
ส่วนสำหรับลางคน ในธรรม ๓ ประการนี้ ธรรมแม้ประการ
เดียวก็ไม่เรียบร้อย พระโยคาวจรจึงเจ้าไปตั้งความกรุณาในบุคคลนั้น
ด้วยคิด (สงสาร) ว่า "เวลานี้เขาเที่ยวอยู่ในโลกมนุษย์แท้ ๆ แต่ว่า
ล่วงไปไม่กี่วัน เขาก็จะต้อง (ไป) เพิ่มให้มหานรกทั้ง ๘ และอุสสท
นรก ๑๖ เต็มขึ้นละ" ด้วยว่าความอาฆาตย่อมระงับลงเพราะอาศัย
ความกรุณาก็ได้
Q.
สำหรับลางคน ธรรมทั้ง นี้เรียบร้อย
က
(หมด) พระโยคาวจร
อฏฐกตวา (เป็นอฏฐิ...ก็มี) มหาฎีกาแก้เป็น ๒ นัย คือนัยหนึ่งว่า อตฺถ์ กตฺวา (ทำให้เป็น
ประโยชน์) อีกนัยหนึ่งว่า อตฺถิโก หุตวา (เป็นผู้ใครประโยชน์ ?)
ที่แปลว่า "ทำให้เป็นประโยชน์" นั้นได้กับพยัญชนะ แต่ดูที่จะเป็นคำมีสำนวน จะถือเอา
ความตรง ๆ ไม่ได้ เพราะ "ธรรม" เป็นของมีประโยชน์อยู่แล้ว จะไปทำให้เป็นของมีประโยชน์
อะไรขึ้นอีก จึงเห็นความในภาษาไทยว่า "ประโยชน์" นี้ ได้แก่ 'มีความสำคัญ' 'ความสำคัญ'
นั้นต้อง "ทำ" คือต้อง "ให้" จึงจะ "สำคัญ" ขึ้น ถ้า "ไม่ให้ ถึงจะมีประโยชน์สักเพียงไร
ก็กลายเป็นของ "ไม่สำคัญ" โดยนัยนี้ อฏฐกตวา หมายความว่า "ให้ความสำคัญในธรรมที่ฟังนั้น'
อันแสดงออกโดยอาการต่าง ๆ เช่นนั่งในท่าเคารพ ประณมมือสำรวม ไม่นั่งใจลอย หรือปล่อยให้
โงก ไม่พูดคุย...
๒. มหาฎีกาว่า มหานรก ๘ มีสัญชีวนรกเป็นต้น ส่วนนรกสาขาของอเวจีมหานรก มีกุกกุฬนรก
เป็นต้น ซึ่งตั้งอยู่ข้างประตูทั้ง 4 ของอเวจี ประตูละ 4 ขุม รวมเป็น ๑๖ ขุม เรียกว่า อุสสทนรก
(นรกเพิ่ม ?)