วิสุทธิมรรคภาค ๒ ตอน ๑ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 221
หน้าที่ 221 / 266

สรุปเนื้อหา

ในข้อความนี้กล่าวถึงการภาวนาและผลลัพธ์ที่เกิดจากความคิดเกื้อกูล โดยเฉพาะการเข้าถึงฌาน ๓ และ ฌาน ๔ ซึ่งมีลักษณะเป็นอันเดียวกันโดยมีอารมณ์ที่หาประมาณไม่ได้ กล่าวถึงความสำคัญของอุเบกขาและการเข้าใจในพฤติกรรมทางอารมณ์ที่สามารถลดพยาบาทและโทมนัสลงได้ นอกจากนี้ยังพูดถึงการอ้างอิงถึงพระพุทธเจ้าที่ตรัสถึงความสำคัญของเมตตา กรุณา และมุทิตาในบริบทของความสงบจิตอย่างแท้จริง

หัวข้อประเด็น

-การภาวนา
-พรหมวิหาร
-ฌาน
-อารมณ์
-โสมนัส
-พยาบาท

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 220 ภาวนาเหล่านั้น เป็นเพราะอำนาจแห่งอาการมีความ คิดเกื้อกูลเป็นต้น อนึ่ง เพราะเหตุที่ภาวนาเหล่า นั้นเป็นไปในอารมณ์ (คือสัตว์) หาประมาณมิได้ จึงชื่ออัปปมัญญา (๓ พรหมวิหารข้างต้นสำเร็จได้เพียงตติยฌาน] ก็แลในภาวนาเหล่านั้น ที่แม้มีลักษณะเป็นอันเดียวกันโดยความ ที่มีอารมณ์หาประมาณมิได้ (ด้วยกัน) อย่างนี้ ภาวนา ๓ ข้างต้นก็ เป็นกฌานิกา เป็นไปเพียงในฌาน ๓ ในจตุกนัย) และหรือเป็นจตุก ฌานิกา (เป็นไปเพียงในฌาน ๔ ในปัญจกนัยป เท่านั้น เพราะ เหตุอะไร เพราะพรากจากโสมนัสไม่ได้ ความพรากจากโสมนัส ไม่ได้มีแก่ภาวนาเหล่านั้น เพราะเหตุอะไร เพราะภาวนาเหล่านั้น เป็นทางออกไปแห่งปฏิปักขธรรมมีพยาบาทเป็นต้น ซึ่งเกิดจากโทมนัส ส่วนภาวนาข้อสุดท้ายเป็นอวเสสเอกฌานิกา (เป็นไปในฌานเดียวที่ เหลือ คือจตุตถฌาน ในจตุกนัย หรือปัญจมฌาน ในปัญจกนัย) เพราะเหตุอะไร เพราะประกอบด้วยอุเบกขาเวทนา แท้จริง อุเบกขาพรหมวิหาร อันเป็นไปโดยอาการเป็นกลางในสัตว์ทั้งหลาย เว้นอุเบกขาเวทนาเสียย่อมเป็นไปไม่ได้แล ส่วนบุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า "เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส มหาฎีกาช่วยขยายความว่า เมตตา กรุณา และมุทิตาเป็นทางออกไปแห่งพยาบาท วิหึสา และอรติ อันเกิดแต่โทมนัสหรือเจือด้วยโทมนัส เพราะฉะนั้น เมื่อพยาบาท วิหึสา และอรติออกไปแล้ว โทมนัสก็ระงับ กลับเป็นโสมนัส (?)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More