วิสุทธิมรรค: ความรู้เกี่ยวกับพรหมวิหาร วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 209
หน้าที่ 209 / 266

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้สำรวจแนวคิดในวิสุทธิมรรคเกี่ยวกับพรหมวิหาร โดยเฉพาะเมตตาและกรุณา ซึ่งบรรยายถึงธรรมชาติแห่งความรักและความเห็นใจที่มีต่อผู้อื่น ในการทำความเข้าใจธรรมชาติของเมตตา ไม่ว่าจะเป็นความรักของบุคคลที่มอบให้กับมิตร หรือการทำให้ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์ อรรถยังกล่าวถึงความหมายและการตีความในข้อบังคับเหล่านี้ ที่ช่วยให้เข้าใจความสำคัญของการมีกรุณาและการดำเนินชีวิตในทางกุศลเพื่อผู้อื่น. สำหรับผู้ที่ศึกษาธรรมะ จะได้รับมุมมองที่ลึกซึ้งและประยุกต์ได้ในชีวิตประจำวัน.

หัวข้อประเด็น

- ความหมายของพรหมวิหาร
- การวิเคราะห์เมตตาและกรุณา
- ธรรมชาติที่ยึดโยงในความสัมพันธ์
- การทำความเข้าใจทางธรรม
- การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 208 ปกิณณกกถา บัณฑิตได้รู้พรหมวิหาร อันพระพรหมอุตตมา จารย์ตรัสไว้เหล่านี้ดังนี้แล้ว พึงทราบ ปกิณณกกถาในพรหมวิหารทั้งหลายนั่นอีกบ้าง ต่อไปนี้ [วินิจฉัยโดยอรรถ] ก็ในเมตตากรุณามุทิตาอุเบกขานี้ บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยโดย อรรถก่อน (ดังต่อไปนี้) ธรรมชาติใดย่อมรัก หมายความว่ามีเยื่อใย เหตุนั้น ธรรมชาติ นั้นจึงชื่อว่าเมตตา (แปลว่าธรรมชาติผู้รัก) นัยหนึ่ง ธรรมชาตินั่น มีอยู่ในมิตร หรือว่าย่อมเป็นไปแก่มิตร เหตุนั้น ธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่า เมตตา (แปลว่าธรรมชาติที่มีอยู่ในมิตร) ธรรมชาติใด เมื่อความทุกข์ของผู้อื่นมีอยู่ ย่อมทำความหวั่นใจ แก่สาธุชนทั้งหลาย เหตุนั้น ธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่า กรุณา (แปลว่า ธรรมชาติผู้ทำความหวั่นใจ) นัยหนึ่ง ธรรมชาติใดย่อมซื้อเอาเสีย คือเบียนเอาเสียซึ่งความทุกข์ของผู้อื่น หมายความว่า ทำทุกข์ของ ผู้อื่นให้หายไปเสีย เหตุนั้น ธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่า กรุณา (แปลว่า ธรรมชาติผู้ซื้อเอาทุกข์ของผู้อื่น) อีกนัยหนึ่ง ธรรมชาติใด อันสาธุชน ย่อมทำไป คือเหยียดออกโดยการแผ่ไปในสัตว์ทั้งหลายผู้ได้รับทุกข์ * หมายความว่า ผู้ที่รู้จักหวั่นใจ เมื่อคนอื่นได้ทุกข์ ก็มีแต่สาธุชนเท่านั้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More