ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 94
(ในการภาวนา) แก่โยคาวจรภิกษุนั้น จึงตรัสคำว่า อรญฺญคโต
วา เป็นอาทิ
[แก้อรรถบทต่าง ๆ แห่งบาลีคำเฉลย]
ในบทเหล่านั้น บทว่า อรญฺญคโต ความว่า ในบรรดาป่า
อันมีลักษณะที่ท่านกล่าวไว้ว่า "ชื่อว่าป่า คือที่นอกเสาอินทขีลออก
ไปนั่นจัดเป็นป่าทั้งสิ้น"
น" ดังนี้ก็ดี ว่า "เสนาสนะอันมีในที่ประมาณ
๕๐๐ ชั่วธนู (แต่แดนบ้าน) เป็นอย่างต่ำ ชื่อว่าเสนาสนะป่า"
ดังนี้ก็ดี ภิกษุไปสู่ป่าอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นที่สงัดเป็นสุข บทว่า
รุกขมูลคโต คือไปสู่ที่ใกล้ต้นไม้” บทว่า สุญญาคารคโต
หมายความว่าไปสู่โอกาสอันว่างคือสงัด และในบาลีบทนี้ เว้นที่เป็น
ป่าและรุกขมูลเสีย แม้ไปสู่เสนาสนะที่เหลืออีก ๓ อย่าง ก็ควรเรียกว่า
สุญฺญาคารคโต ได้
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงชี้เสนาสนะอันเหมาะแก่การบำเพ็ญ
๑. ขุ. ป. ๓๑/๒๖๔
๒. วิ. มหา. ๒/๑๔๖
๓. หมายความว่า คำว่า รุกขมูล นั้น มิได้จำกัดเอาที่ตรงโคนไม้เท่านั้น เพราะฉะนั้น มหาฎีกา
จึงชักเอาคําอธิบายมากล่าวไว้ว่า "ในเวลาเที่ยง เงาไม้แผ่ออกไปเท่าใด ในเวลาไม่มีลม ใบไม้
หล่นลงในที่เพียงใด ที่เท่านั้นเพียงนั้นเรียกว่า รุกขมูล"
๔. เสนาสนะที่เหลืออีก ๒ มหาฎีกาชักเอามาบอกไว้ว่า คือภูเขา ๑ ซอกเขา ๑ ถ้ำในเขา ๑
ป่าช้า ๑ ป่าดง ๑ ที่แจ้ง ๑ กองฟาง ๑
๕. ถ้าอธิบายอย่างนี้ถูก สุญญาคาร ก็จะต้องแปลว่า "ที่ว่างจากเรือน" ไม่ใช่ "เรือนว่าง" อย่างที่
เคยแปลกัน เคยอ่านพบที่ไหนแห่งหนึ่งว่า สุญญาคารนั้น ได้แก่เรือนที่เขาปลูกไว้ตามทางสำหรับ
คนเดินทางพักอาศัย เรียกว่า สุญญาคาร เพราะไม่มีเจ้าของ ไม่มีผู้ถือสิทธิครอบครอง เมื่อไม่มี
ใครพัก ภิกษุก็ไปพักทำกรรมฐานได้