ประโยชน์ของพรหมวิหารในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 212
หน้าที่ 212 / 266

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาในบทนี้พูดถึงพรหมวิหารทั้งสี่ ได้แก่ เมตตา, กรุณา, มุทิตา และอุเบกขา ที่ช่วยในการลดความพยาบาทและความยินดีได้ พร้อมยังอธิบายถึงความเฉยที่เกิดจากการทำกรรมดีและการเข้าถึงความสุขผ่านการวิปัสนา การเจริญอุเบกขา หรือความไม่ยึดมั่นในอารมณ์ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวถึงวิธีการขจัดอารมณ์ลบต่าง ๆ ที่เกิดจากพยาบาทและราคะด้วยพรหมวิหารทั้งสี่ รวมถึงข้อผิดพลาดในการตีความคำในบทนี้ โดยเฉพาะเกี่ยวกับคำว่า 'วิหึสา' ซึ่งถูกระบุว่าเป็นคำที่ถูกต้องกว่า 'อหึสา' ในฉบับวิสุทธิมรรค

หัวข้อประเด็น

-ประโยชน์ของพรหมวิหาร
-ความสุขจากวิปัสนา
-การลดพยาบาทและราคะ
-ความเฉยในอุเบกขา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 211 ตน สัตว์เหล่านั้น จักเป็นผู้ถึงซึ่งความสุขก็ดี จักพ้นจากทุกข์ก็ดี จักไม่เสื่อมจากสมบัติที่ได้รับแล้วก็ดี ตามความพอใจของกรรม ดังนี้ เป็นเหตุใกล้ ความรำงับไปแห่งความยินร้ายและความยินดี (ด้วย อำนาจวิกขัมภนปหาน) เป็นสมบัติแห่งอุเบกขานั้น ความเกิดขึ้น แห่งอญาณุเบกขา (ความเฉยโดยโง่) เป็นคหสิตะ (อิงกามคุณ) เป็นวิบัติแห่งอุเบกขานั้น [ประโยชน์ของพรหมวิหาร] ก็แลวิปัสนาสุข (ความสุขในวิปัสนา) ก็ดี ภพสมบัติ (ความ ได้กำเนิดในรูปภพ ?) ก็ดี เป็นประโยชน์ทั่วไป ความกำจัดปฏิปักข ธรรมมีพยาบาทเป็นต้นได้ เป็นประโยชน์เฉพาะข้อ แห่งพรหมวิหาร က ทั้ง ๔ นั่น จริงอยู่ ในพรหมวิหาร ๔ นั่น เมตตามีการกำจัด พยาบาทได้เป็นประโยชน์ ๓ ข้อนอกนี้ ก็มีการกำจัดวิหิงสา อรติ และราคะเป็นประโยชน์ (ตามลำดับ) สมคำพระสารีบุตรกล่าวไว้ว่า "ดูกรอาวุโส สิ่งซึ่งเป็นทางออกไปแห่งพยาบาท ก็คือเมตตเจโต วิมุติ สิ่งซึ่งเป็นทางออกไปแห่งวิเหลา ก็คือกรุณาเจโตวิมุติ สิ่งซึ่ง เป็นทางออกไปแห่งอรติ ก็คือมุทิตาเจโตวิมุต สิ่งซึ่งเป็นทางออกไป แห่งราคะ ก็คืออุเบกขาเจโตวิมุติ" ดังนี้ ๑. ปาฐะในฉบับวิสุทธิมรรคพิมพ์ไว้เป็น อหึสา---- ปฏิฆาตปุปโยชนา คำ อหึสา นั้นผิด ที่ถูกเป็น วิหึสา เพราะคำทั้ง ๓ คือ วิหึสา อรติ ราคะ เป็นฉัฏฐีกรรมในปฏิฆาตะ ๒. ที. ปาฏิ, ๑๑/๒๖๑
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More