ความสำคัญของการควบคุมความโกรธในศาสนา วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 161
หน้าที่ 161 / 266

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้กล่าวถึงความสำคัญของการควบคุมความโกรธ โดยอธิบายว่าบุคคลที่มักมีความโกรธจะถูกความโกรธครอบงำ และส่งผลให้เขาประพฤติชั่วด้วยกาย วาจา และใจ ศัตรูไม่ยินดีด้วยความมีสุคติของผู้เป็นศัตรู และมักปรารถนาให้ศัตรูทุกข์ ในที่สุด ความโกรธจะนำไปสู่การไม่มีมิตรภาพและการอยู่ที่ต่ำในสังคม เพื่อให้เป็นคนที่มีคุณธรรม จึงควรทำความเข้าใจกับธรรมชาติของความโกรธและพยายามควบคุมให้ได้.

หัวข้อประเด็น

- ความโกรธและผลกระทบ- การควบคุมอารมณ์- ความสำคัญของการมีธรรมะ- ศัตรูและความสัมพันธ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 160 ศัตรูย่อมไม่ยินดีด้วยความมีผิวพรรณ (งาม) แห่งผู้เป็นศัตรูกัน ภิกษุทั้งหลาย บุรุษบุคคลผู้มักโกรธนี้ ถูกความโกรธครอบงำแล้ว โกรธเต็มประดาแล้ว ถึงเขาจะเป็นผู้อาบน้ำแล้วอย่างดี ลูบไล้กาย อย่างดี ตัดแต่งผมและหนวด นุ่งห่มผ้าขาวสะอาด ก็ตามเถิด ถึง กระนั้น เขาผู้ถูกความโกรธครอบงำ ก็เป็นคนมีผิวพรรณทรามอยู่ นั่นเอง นี้ ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ศัตรูปรารถนา (ให้มีแก่ผู้เป็น ศัตรูกัน) ที่ศัตรูพึงทำ (ให้แก่ผู้เป็นศัตรูกัน) ประการต้น ย่อมมาถึงคนมักโกรธ จะเป็นสตรีหรือบุรุษก็ตาม อีกข้อหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ศัตรูย่อมปรารถนานี้ต่อผู้เป็นศัตรูกันว่า "เออ น่ะ ขอ (ให้) มันนอนเป็นทุกข์เถิด" ฯลฯ "ขอ (ให้) มันเป็น คนอัตคัดเถิก ฯลฯ "ขอ (ให้) มันเป็นคนไม่มีโภคะเถิด" ฯลฯ "ขอ (ให้) มันเป็นคนไม่มี (เกียรติ) ยศเถิด" ฯลฯ "ขอ (ให้) มันเป็นคนไม่มีมิตรเถิด" ฯลฯ เพราะกายแตกตายไป ขอ (ให้) มันอย่าได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เลย" ดังนี้ ข้อนั้นเป็น เพราะเหตุอะไร ภิกษุทั้งหลาย (เพราะ) ศัตรูย่อมไม่ยินดีด้วย ความไปสุคติแห่งผู้เป็นศัตรูกัน ภิกษุทั้งหลาย บุรุษบุคคลผู้มัก โกรธนี้ ถูกความโกรธครอบงำแล้ว โกรธเต็มประดาแล้ว ย่อม ประพฤติชั่วด้วยกาย ประพฤติชั่วด้วยวาจา ประพฤติชั่วด้วยใจ เขาผู้ถูกความโกรธครอบงำ ครั้นประพฤติชั่วด้วยกายวาจาใจแล้ว * น ปรตฺโถ อสฺส แปลโดยพยัญชนะว่า "ขอมัน ไม่พึงเป็นผู้มีผลประโยชน์มากเถิด"
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More