การแผ่เมตตาในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 185
หน้าที่ 185 / 266

สรุปเนื้อหา

ในเนื้อหานี้มีการอธิบายเกี่ยวกับการใช้เมตตาในการแผ่ไปถึงสัตว์ในทิศต่างๆ ตามที่ได้ระบุในบาลี โดยมีการกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงสถานะของอริยาบถขณะที่แผ่เมตตา การแผ่ไปยังทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศอื่นๆ เป็นต้น จากความเข้าใจในข้อความนี้ สรุปได้ว่าผู้ปฏิบัติควรดำเนินการแผ่เมตตาให้ครอบคลุมทุกทิศทุกรูปแบบเพื่อประโยชน์สูงสุดในการทำงานหรือการพบปะผู้คนในชีวิตประจำวัน อีกทั้งยังเน้นว่าแม้ทิศที่ไม่ได้มองเห็นก็เป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ

หัวข้อประเด็น

-การแผ่เมตตา
-บาลีในวิสุทธิมรรค
-การทำจิตให้สงบ
-อริยาบถ
- การปฏิบัติธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 184 [แก้บาลีอัปปมัญญา] ก็ในบาลีนี้ บทว่า เมตตาสหคเตน (สหรคตกับเมตตา) ความว่า ประกอบไปด้วยเมตตา บทว่า เจตสา (มีใจ) ก็คือ จิตฺเตน (มีจิต) คำว่า เอก ทิส (ตลอกทิศหนึ่ง) ตรัสโดย เป็นการแผ่ไปถึงสัตว์ที่เนื่องอยู่ในทิศหนึ่ง มุ่งเอาสัตว์ที่พระโยคาวจร กำหนดครั้งแรกในทิศอันหนึ่ง" บทว่า ผริตวา (แผ่) คือสัมผัส (ด้วยใจ) ได้แก่ทำให้เป็นอารมณ์ บทว่า วิหรติ (อยู่) หมาย ความว่า ยังอิริยาบถวิหาร (การเปลี่ยนอริริยาบถอยู่) ที่อธิษฐานเพื่อ พรหมวิหารให้เป็นไป คำว่า ตถา ทุติย์ (ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น) เป็นต้น ความว่า ในทิศทั้งหลาย มีทิศตะวันออกเป็นต้น เธอแผ่ ไปตลอดทิศใด ๆ ก็ตาม ทิศหนึ่งอยู่ อย่างใด ก็แผ่ไปตลอดทิศที่ ๒ ที่ ๓ และที่ ๔ ในลำดับกันอย่างนั้นแล คำว่า อิติ อุทธ์ ไขความ ว่า และโดยนัยเดียวกันนั้น (แผ่ไป) ในทิศเบื้องบน สองบทว่า อโธ ติริย์ คือแม้ในทิศเบื้องล่าง แม้ในทิศขวาง ก็อย่างนั้นเหมือน กัน ก็แลใน ๒ บทนั้น บทว่า อโธ (ทิศล่าง) ได้แก่ทิศใต้ (ตัวเรา) ลงไป บทว่า ติริย์ (ทิสขวาง) ได้แก่ในทิศเฉียง ทั้งหลาย ๑. หมายความว่า พูดว่าทิศ แต่ที่จริงหมายถึงสัตว์ที่อยู่ในทิศนั้น ๒. มหาฎีกาว่า ลำดับการแผ่ ไม่ใช่ลำดับทิศ เพราะทิศเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น เมื่อแผ่ไปทิศใด ทิศหนึ่งเป็นการประเดิมแล้ว แผ่ไปทิศใดต่อไป ทิศนั้นก็นับเป็นทิศที่ ๒ แผ่ต่อไปก็เป็นที่ ๓ ที่ 4 ทีละทิศ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More