ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 235
[ความแปลกในอากาสานัญจายตนะ]
ส่วนความ (ต่อไป) นี้ เป็นความแปลก (ในอากาสานัญจาย
ตนฌาน คือ) เมื่ออรูปาวจรจิตเกิดขึ้นอย่างนั้นแล้ว ภิกษุนั้น (เคย)
เพ่งดวงกสิณด้วยฌานจักษุมาก่อนอยู่แล้ว ครั้น (กสิณ) นิมิตนั้นมาถูก
การมนสิการด้วยบริกรรมว่า "อากาโส อากาโส" นี้พรากออกไปโดย
ฉับพลันเสียแล้ว ก็คงเพ่งแต่อากาศอยู่ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ที่ผูก
(แต่ง) ช่องต่าง ๆ มีช่องประตูเล็กของยาน (วอ) หรือช่องปากหม้อ
เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยท่อนผ้าสีเขียว หรือสีอื่นมีสีเหลือง แดง
ขาว เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วเพ่งดูอยู่ ครั้นท่อนผ้า (นั้น)
ถูกกำลังลมหรือกำลังอะไร ๆ อื่นพัดเอาไปเสียแล้ว ก็คงยืนเพ่งมองแต่
อากาศอยู่ฉะนั้น
ก็แล ด้วยภาวนานุกรมเพียงเท่านี้ ภิกษุนั้นได้ชื่อว่า "เพราะ
ก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะตกไปแห่งปฏิฆสัญญาโดย
ประการทั้งปวง เพราะไม่ทำในใจถึงนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
ทำในใจแต่ว่า 'อนนฺโต อากาโส - อากาศเป็นอนันตะ" เข้าถึง
อากาสานัญจายตนะอยู่"
มหาฎีกาแยกเป็น ๓ คือ ยาน ปโตฬ กุมภ์ และบอกให้ประกอบ มุข ทุกบท เป็นยานมุข
ปโตพิมุข กุมภิมุข และปโตชิ ท่านแก้ว่า ขุททกทวาร แต่ในที่นี้แปลตามรูปปาฐะในฉบับ
วิสุทธิมรรค ที่เรียงไว้ให้เห็นว่าเป็น ๒ ศัพท์เท่านั้น คือ ยานปปโตฬ ศัพท์ ๑ กุมภิมุข ศัพท์ ๑
ซึ่งก็แปลได้ความดีอยู่แล้ว