ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ -
๑ - หน้าที่ 39
เหมือนลิง พระโยคาวจรเหมือนพราน การที่จิตของพระโยคี ท่อง
เที่ยวไปในกายอันมีโกฏฐาส ๓๒ โดย (ทำให้) เป็นอารมณ์เหมือนการ
ที่ลิงอาศัยอยู่ในดงตาลอันมีตาล ๓๒ ต้น การที่เมื่อพระโยคีเริ่มมนสิการ
ว่าเกสาแล้ว (มนสิการ) จิตดำเนินไป (จนสุด) หยุดลงที่โกฐาสปลาย
ทีเดียว เหมือนการที่เมื่อพรานใช้ศรยิงใบตาลต้นที่ยืนอยู่ต้นเพื่อนแล้ว
ทำเสียตะเพิด ลิงก็โผนไปที่ต้นตาลนั้น ๆ (จน) ถึงต้นท้ายเพื่อน
แม้ในเที่ยวกลับอีกก็นัยเดียวกันนั้น การที่เมื่อพระโยคาวจรมนสิการ
(อย่างนั้น) บ่อยเข้า ครั้นโกฏฐาสลางเหล่าไม่ปรากฏ ลางเหล่าปรากฏ
ก็ปล่อยโกฏฐาสทั้งหลายที่ไม่ปรากฏเสีย ทำบริกรรม (แต่) ในโกฏฐาส
ทั้งหลายที่ปรากฏ เหมือนการที่ลิงโผนไปตามลำดับต้นบ่อย ๆ เข้า (ก็
ล้า) โผล่ขึ้นแต่ในที่ ๆ พรานทำเสียงตะเพิดไล่ (ถ้าไม่ตะเพิดก็ไม่โผล่)
การที่เมื่อในที่สุดโกฏฐาสปรากฏ (แต่) ๒ ในโกฏฐาส ๒ นั้น
โกฏฐาสใดปรากฏดีกว่า พระโยคาวจรมนสิการโกฏฐาสนั้นนั่นแหละ
แล้ว ๆ เล่าๆ ยังอัปปนาให้เกิดได้ เหมือนการที่ลิงไป ๆ ก็หมอบอยู่ที่
ต้นตาลต้นหนึ่ง ยึดยอดตาลตูมอันสะอาด (ซึ่งอยู่) ตรงกลางต้นมัน
ไว้มั่น แม้ถูกยิงก็ไม่โผล่ฉะนั้น
อีกอุปมาหนึ่ง เหมือนปิณฑปาติกภิกษุ (ผู้ถือการเที่ยวบิณฑ
๑. เพิ่งพบท่านใช้ 'โยคาวจโร' ที่นี่ แต่แล้วก็ใช้ 'โยคี' ตามถนัดต่อไป
๒. ตรงนี้ปาฐะว่า เกสุจิ เกสุจิ อุปฏฐิเตสุ นั้นตก อนุปฏฐิเตสุ ไปบทหนึ่ง เพราะฉะนั้น เมื่อ
เรียงเต็มก็เป็น เกสุจิ อนุปฏฐิเตสุ เกสุจิ อุปฏฐิเตสุ แต่ถ้าถือเอาที่ท่านเรียงมาแล้วเป็นหลักคือ
เกจิ โกฏฐาสา อุปฏฐหนฺติ เกจิ น อุปฏฐหนฺติ ดังนี้ ในที่นี้ ก็ควรเรียง อุปฏฐิเตสุ ไว้หน้า
อนุปฏฐิเตสุ ไว้หลังด้วย