ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 54
โดยตัดตอน เบื้องล่าง กำหนดตัดด้วยพื้นที่ตั้งอยู่ที่โครงกระดูก เบื้อง
บน กำหนดตัดด้วยหนัง เบื้องขวาง กำหนดตัดด้วยเนื้อด้วยกัน นี้เป็น
(สภาคบริเฉท) ตัดตอนด้วยส่วนของตนแห่งเนื้อนั้น ส่วน (วิสภาค
ปริเฉท) ตัดตอนด้วยส่วนที่ผิดกับตน ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล
[เอ็น]
บทว่า เอ็นทั้งหลาย คือ เอ็น ๕๐๐ เส้น โดยสี เอ็น
นฺหารู -
ทั้งปวงสีขาว โดยสัณฐาน มีสัณฐานต่าง ๆ จริงอยู่ ในเป็นเหล่า
นั้น เอ็นใหญ่ที่ดึงรัดสรีระจับแต่ส่วนบนแห่งคอหยั่งลงไปทางข้างหน้า
๕ เส้น ทางข้างหลังก์ ๕ เส้น ทางเข้าขวาก็ ๕ เส้น ทางข้างซ้าย
ก็ ๕ เส้น แม้ที่ดึงรัดมือขวา ทางข้างหน้ามือที่ ๕ ทางข้างหลัง
(มือ) ก็ ๕ ที่ดึงรัดมือซ้ายก็อย่างนั้น แม้ที่ดึงรัดเท้าขวา ทาง
ข้างหน้าเท้าก็ ๕ ทางข้างหลังที่ ๕ ที่ดึงรัดเท้าซ้ายเล่าก็อย่างนั้น ดังนี้
แล เอ็นใหญ่ ๖๐ เส้น อันได้ชื่อว่า สรีรธารกา (เอ็นดำรงร่าง)
รึงรัดกายหยั่งลงไป (ตลอดร่าง) ซึ่งท่านเรียกว่า กัณฑรา (เอ็น
รากเง่า ?) บ้าง เป็นเหล่านั้นทั้งปวง มีสัณฐานดังต้นกล้าอ่อน
ส่วนเอ็นอื่น ๆ แผ่คลุมตำแหน่ง (แห่งร่างกาย) นั้น ๆ อยู่ ที่เล็กกว่า
ๆ
(ติมตฺตานํ อฏฐิสตานิ) ซึ่งมหาฎีกาให้ข้อสังเกตไว้ว่า ด้วย มตฺต ศัพท์ ส่อว่ายังมีกระดูก
อื่นอีกที่มิได้นำมากล่าวไว้ในที่นั้น เช่นกระดูกก้น (อานิสทฏฐิ) เป็นต้น ดังนี้ จึงแก้เป็น
สาธิกานิ แปลว่า กว่า ๆ
* เย ในประโยค เย กัณฑราติปี วุจจนฺติ นั้น เป็นสากังขคติของประโยคข้างหน้า
หาใช่เป็นคู่ ย. ต. กับ เต ในประโยคข้างหลังไม่ เพราะฉะนั้น ควรถอนเครื่องหมายหัวตาปู
หลัง โอติณณา มาไว้หลัง วุจจนติ รวมเป็นประโยคเดียวกันจึงจะถูก