ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 50
ตัดตอนด้วยส่วนที่ผิดกับตน ก็เช่นเดียวกับ (การกำหนด) ผมนั่นแล
[ฟัน]
คำว่า ทนฺตา - ฟันทั้งหลาย คือกระดูกฟัน ๓๒ ซี่ของผู้มีฟัน
เต็ม แม้ฟันทั้งหลายนั้น โดยสีขาว โดยสัณฐาน มีสัณฐานหลาย
อย่าง จริงอยู่ บรรดาฟันเหล่านั้น (ว่าด้วย) ฟัน 4 ซี่ตรงกลาง
ฟันแถวล่างก่อน มีสัณฐานดุจเมล็ดน้ำเต้าที่เขาปักเรียงกันไว้ที่ก้อนดิน
เหนียว สองข้าฟันกลาง 4 ซี่นั้น ฟันข้างละซี่มีรากเดียว ปลายก็
๔
แง่เดียว สัณฐานดุจดอกมะลิตูม ถัดไป ฟังข้างละซี่ มี ๒ ราก ปลาย
ก็มี ๒ แง่ สัณฐานดุจไม้ค้ำเกวียน ถัดไป ฟันข้างละ ๒ ซี่ มี ๓ ราก
ปลายก็ ๓ แง่ ถัดไป ฟันข้างละ ๒ ซี่ มี 4 ราก ปลายก็ ๔ แง่แล
แม้แถวบนก็ท่าเดียวกันนั้น โดยทิศ ฟันนั้นเกิดในทิศเบื้องบน โดย
โอกาส ตั้งอยู่ในกระดูกกรามทั้ง ๒ โดยตัดตอน ข้างล่างกำหนดตัด
ด้วยพื้นรากของตนอันตั้งอยู่ในกระดูกกราม ข้างบน กำหนดตัดด้วย
อากาศ เบื้องขวาง กำหนดตัดด้วยฟันด้วยกัน การกำหนดตัดโดยนัย
ว่า "ฟัน ๒ ซี่ไม่มีรวมอยู่ด้วยกัน" นี้เป็น (สภาคบริเฉท) ตัด
ตอนด้วยส่วนของตนแห่งฟันเหล่านั้น ส่วน (วิสภาคบริเฉท) ตัด
ตอนด้วยส่วนที่ผิดกับตน ก็เช่นเดียวกับ (การกำหนด) ผมนั่นแล
[หนัง]
คำว่า ตโจ - หนัง คือหนังที่หุ้มร่างกายทั้งสิ้นอยู่ เหนือหนัง
นั้น มีสิ่งที่ชื่อว่าฉวี (ผิว) มีสีต่าง ๆ เช่น ดำ คล้ำ เหลือง ซึ่ง