วิสุทธิมรรค แปล ภาค ๒ ตอน ๑ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 109
หน้าที่ 109 / 266

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงการฝึกสมาธิโดยการระงับกายสังขารผ่านการสังเกตลมหายใจเข้าออก การใคร่ครวญเพื่อให้กายได้สงบ ลดการโยกโคลงของกาย และมีการเสนอแนวคิดว่าถ้าสามารถระงับกายสังขารได้ จะไม่มีการทำอานาปานสติ ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวนการทำสมาธิ และบัณฑิตจะไม่สามารถเข้าสมาบัติได้ หากกายสังขารถูกระงับทั้งหมด จึงนำไปสู่การตั้งคำถามว่าการฝึกนั้นยังมีความหมายหรือไม่เมื่อกายสังขารหมดไป

หัวข้อประเด็น

-กายสังขาร
-การฝึกสมาธิ
-อานาปานสติ
-วิสุทธิมรรค
-พุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 109 และคำเฉลยไว้ดังนี้ว่า "ถามว่า "ภิกษุสำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้ระงับ กายสังขารหายใจออก---- หายใจเข้า อย่างไร อะไรชื่อกายสังขาร เฉลยว่า 'ธรรมทั้งหลายที่มีอยู่ในกาย คือลมหายใจออกหายใจเข้ายาว อันเป็นธรรมเนื่องด้วยกาย นี้ชื่อกายสังขาร ภิกษุทำกายสังขารทั้ง หลายนั้นให้รำงับ คือให้ดับสงบลง สำเหนียกไป ฯลฯ (คือ) สำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร (หยาบ) ที่เป็นเหตุให้กายโยก โคลงโอนเอนส่ายสั่นหวั่นไหวไปมาเสีย หายใจออก สำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร (หยาบ)--- หายใจเข้า สำเหนียกว่าเราจัก ระงับกายสังขารอันสงบอันละเอียด ที่เป็นเหตุให้กายไม่โยกไม่โคลง ไม่โอนไม่เอนไม่ส่ายไม่สั่น ไม่หวั่นไม่ไหว หายใจออก----หายใจเข้า มีคำท้วง (สอดเข้ามา) ว่า หากว่าอย่างนั้น ชื่อว่า ปสฺสมฺภย์ กายสงฺขาร์ อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ปสฺสมภัย กายสงฺขาร ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ละก็ เมื่อเป็นอย่างนั้น (คือแม้กายสังขารที่ละเอียดยิ่งก็ให้ ระงับเสียอีก เช่นนั้น ?) การทำวาตุปลัทธิ (ความกำหนดรู้ลม ?) ให้เกิดต่อไปก็ไม่มีละ การยังลมหายใจออกหายใจเข้าให้เป็นไปก็ไม่มี (เพราะทั้งหยาบทั้งละเอียดระงับไปหมดแล้ว ?) การเจริญอานาปานสติ ต่อไปก็ไม่มี (เพราะลมหายใจไม่มี ?) การบำเพ็ญอานาปานสติสมาธิ ต่อไปก็ไม่มี (เพราะไม่มีลมเป็นอารมณ์ ?) และบัณฑิตทั้งหลาย ก็เป็นอันไม่ได้เข้าสมาบัตินั้น ทั้งก็ไม่ได้ออกจากสมาบัตินั้นด้วยละซิ ? มีคำเฉลยว่า ถึงว่าอย่างนั้น ชื่อว่า ปสฺสมฺภย์ กายสงฺขาร อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ปสฺสมฺภย์ กายสงฺขาร ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More