ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 104
ตั้งจิตมั่นแห่งภิกษุผู้เป็นอย่างนั้นอันใด คามตั้งจิตมั่นนี้จัดเป็นอธิจิตต
สิกขาในที่นี้ ความรู้ทั่วถึงแห่งภิกษุผู้เป็นอย่างนั้นอันใด ความรู้ทั่วถึง
นี้จัดเป็นอธิปัญญาสิกขาในที่นี้ ภิกษุสำหนียก คือส้องเสพ เจริญ
ทำให้มากซึ่งสิกขา ๓ ตามที่กล่าวมานี้ในอารมณ์นั้น ด้วยสตินั้น ด้วย
มนสิการนั้น ดังนี้
ในจตุกกะที่ ๑ นั้น เพราะเหตุที่ในนัยแรก พระโยคาวจรจึง
หายใจออกหายใจเข้าอย่างเดียวเท่านั้น และไม่พึงทำกิจอะไร ๆ อื่น
แต่ว่าต่อนี้ไปควรทำความเพียรในอาการทั้งหลายมีการยังญาณให้เกิด
เป็นต้น เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระบาลี
โดยเป็นวัตตมานกาลว่า---- อนุสสามีติ ปชานาติ---- ปสฺสฺสามีติ ปชา
นาติ (---รู้ว่าเราหายใจออก---รู้ว่าเราหายใจเข้า) ดังนี้ในนัยแรก
นั้นแล้ว จึงทรงยกพระบาลีเป็นคำแสดงอนาคตกาล โดยนัยว่า สพฺพ
กายปฏิสเวที อสฺสสิสฺสามิ (----เราจักเป็นผู้รู้ตลอดกายทั้งหมด
หายใจออก) ดังนี้เป็นต้น เพื่อจะทรงแสดงอาการมีการทำญาณให้เกิด
เป็นต้น อันควรทำต่อแต่นัยแรกนี้ไป
[แก้ ปสฺสมฺภย์ กายสงฺขาร
ข้อว่า "เธอสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขาร หายใจ
ออก----หายใจเข้า" นั้น คือเธอใส่ใจว่าเราจักเป็นผู้ระงับ คือทำกาย
สังขารที่หยาบให้ค่อยๆ เบาลง ให้ดับไปให้สงบไปหายใจเข้าหายใจออก
ความหยาบและละเอียดก็ดี ความระงับก็ดี ในข้อนั้น พึงทราบ
นัยแรกหมายถึงวัตถุหมายเลข ๑ และ ๒ ในจตุกกะที่ ๑