วิสุทธิมรรค แปล ภาค ๒ ตอน ๑ - การนับและติดตามลม วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 117
หน้าที่ 117 / 266

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาในส่วนนี้เน้นการพัฒนาสมาธิโดยการนับลมและติดตามการหายใจ เพื่อสร้างสติให้แน่วแน่ โดยมีการอธิบายว่าจิตใจที่ป่วนปั่นสามารถประจักษ์ได้เมื่อทำตามลมทั้งต้น กลาง และปลาย การปฏิบัติอย่างตั้งใจนี้จะช่วยให้จิตใจมีความสงบและมีสมาธิมากขึ้น จึงเป็นแนวทางสำคัญในการฝึกปรือจิต การดูแลสติและความสงบของจิตใจในระยะยาว.

หัวข้อประเด็น

-การนับลม
-การติดตามลม
-การสร้างสติ
-การฝึกความสงบ
-ผลของการปฏิบัติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 117 ข้างในและข้างนอก จึงนับเร็ว ๆ โดยนัยที่กล่าวมาก่อนนั่นเถิด" ถามว่า ก็ลมนั้นจะต้องนับไปนานเท่าไร ? ตอบว่า พึงนับไป จนกว่าเว้นนับแล้ว สติก็ยังตั้งแต่อยู่ได้ใน อารมณ์คืออัสสาสะปัสสาสะ ด้วยว่าการนับก็ทำเพื่อตัดความตรึกที่ซ่าน ไปภายนอกเสียแล้วตั้งสติไว้ในอารมณ์คืออัสสาสะปัสสาสะให้ได้นั่นแล [อนุพนธนา - วิธีติดตามลม ครั้นมนสิการโดยวิธีนับอย่างนี้แล้ว จึงมนสิการโดยวิธีติดตาม (ต่อไป) เลิกนับเสีย แล้วใช้สติตามลมอัสสาสะปัสสาสะไปมิให้ขาดระยะ ชื่อว่าอนุพนธนา - ติดตาม ก็แลการตามไปนั้น ไม่พึงทำโดยวิธีตาม ไป (กำหนด) ต้น (ลม) กลาง (ลม) และปลาย (ลม) เพราะ ว่าสำหรับลมที่ออกข้างนอก ก็นาภีเป็นต้น หทัยเป็นกลาง นาสิกเป็น ปลาย สำหรับลมเข้าข้างใน ก็ปลายนาสิกเป็นต้น หทัยเป็นกลาง นาภีเป็นปลาย ก็เมื่ออาทิกัมมิกะนั้นตามลมนั้นไป จิตอันแกว่งไปมา จะเป็น (ไป) เพื่อความป่วนปั่นและหวั่นไหวเป็นแท้ ดังท่านกล่าว ไว้ (ในบาลีปฏิสัมภิทา) ว่า "เมื่อภิกษุใช้สติตามลมอัสสาสะไป ทั้งต้น กลาง และปลาย (ก็เป็นอัน) มีจิตแกว่งไปมาอยู่ภายใน ทั้งกายทั้ง จิต (ของเธอ) ย่อมจะป่วนปั่น หวั่นไหวและวุ่นวายไป เมื่อภิกษุ ใช้สติตามลมปัสสาสะไป ทั้งต้น กลาง และปลาย (ก็เป็นอัน) มีจิต แกว่งไปมาอยู่ภายใน ทั้งกายทั้งจิต (ของเธอ) ย่อมจะป่วนปั่นหวั่น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More