การเจริญมุทิตาภาวนาในพระพุทธศาสนา วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 205
หน้าที่ 205 / 266

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้เสนอวิธีการเจริญมุทิตาภาวนาในพระพุทธศาสนา โดยเน้นถึงความสำคัญของการเลือกบุคคลที่เหมาะสมในการฝึกฝนจิตใจ ซึ่งบุคคลที่รักถือเป็นปัจจัยที่ทำให้สามารถพัฒนามุทิตาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังพูดถึงอานิสงส์ที่เกิดจากการฝึกมุทิตาและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการแผ่กระจายความรักและความสุขสู่ผู้อื่น บุคคลที่มีส่วนร่วมในวิธีการนี้จะพบกับความสงบสุขในจิตใจและความสามารถในการสร้างสรรค์ในชีวิต

หัวข้อประเด็น

-การเจริญมุทิตาภาวนา
-การเลือกบุคคลที่เหมาะสม
-การแผ่เมตตา
-อานิสงส์ของการทำความดี
-โยคาวจรและการปฏิบัติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 204 อโนธิโสผรณาด้วยอาการ ๕ เป็นโอธิโสผรณาด้วยอาการ ๓ เป็น ทิสาผรณาด้วยอาการ ๑๐ นี้ และอานิสงส์ทั้งหลายมีข้อว่า หลับเป็นสุข เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในเมตตาภาวนานั่นเทอญ นี้เป็นกถาอย่างพิสดารในการเจริญกรุณา [มุทิตาพรหมวิหาร] พระโยคาวจรผู้จะเริ่มทำมุทิตาภาวนา ก็ไม่ควรเริ่มทำในบุคคลที่ เป็นโทษแก่ภาวนา มีบุคคลที่รักเป็นต้นก่อน เพราะว่า บุคคลที่รัก หาเป็นปทัฏฐานแห่งมุทิตา ด้วยเพียงแต่ความเป็นที่รักเท่านั้นไม่ จะ กล่าวไยถึงบุคคลที่เป็นกลาง ๆ และที่เป็นศัตรูเล่า (ส่วน) บุคคลที่มี เพศเป็นข้าศึกกัน และบุคคลที่ทำกาลกิริยาแล้ว ก็มิใช่แดน (ที่จะเจริญ มุทิตา) เหมือนกัน แต่บุคคลผู้เป็นสหายที่รักยิ่ง ซึ่งในอรรถกถา เรียกว่าสหายนักเลง จึงเป็นปทัฏฐานได้ เพราะสหายนักเลงนั้น เป็นคนบันเทิงเริงรื่นแท้ (พบกันก็) หัวเราะก่อน แล้วจึงพูดภายหลัง เพราะเหตุนั้น สหายนักเลงนั้น พระโยคาวจรดึงแผ่มุทิตาให้ก่อนก็ได้ หรือมิฉะนั้น ได้พบหรือได้ยินข่าวบุคคลที่รักได้รับความสุขก็ดี มีสุขวัตถุ จัดเตรียมไว้ก็ดี บันเทิงอยู่ จึงยังมุทิตาให้เกิดขึ้นว่า "สัตว์ผู้นี้บันเทิง หนอ โอ สาธุ ดีแท้" แท้จริง ท่านอาศัยอำนาจแห่งความข้อนี้แหละ กล่าวไว้ในวิภังค์ว่า "อนึ่ง ภิกษุมีใจสหรคตกับมุทิตา แผ่ไปตลอดทิศ · โย ที่ โย อฏฐกถาย นั้นเป็น สากังขคติ ของประโยคหน้า ไม่ใช่เป็น คู่ ย. ต. กับ ประโยคหลัง จึงควรยกหัวตาปู ระหว่าง ปทุฏฐาน กับโย ออกเสีย จะได้ไม่ทำให้เขว
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More