วิสุทธิมรรค: ความเข้าใจวิราคธรรม วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 147
หน้าที่ 147 / 266

สรุปเนื้อหา

การศึกษาเกี่ยวกับวิราคธรรมในพุทธศาสนาแสดงให้เห็นว่าความเมาและความกระหายเป็นสาเหตุให้เกิดการยึดติดและทุกข์ทรมาน วิราคธรรมช่วยให้บุคคลถอนตัวจากสภาพเหล่านี้เพื่อไปสู่ความปราศจากและนิพพาน โดยการเสริมสร้างความเข้าใจในอุปสมะและความสำคัญของการหลุดพ้นจากถุงตัณหาในชีวิต ดำเนินการเพื่อให้ผู้ปฏิบัติพัฒนาคุณความดีและความสงบสุขตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในต่างๆ

หัวข้อประเด็น

- วิราคธรรม
- ความเมาและความกระหาย
- ตัณหาในพุทธศาสนา
- ความสำคัญของวิสุทธิมรรค
- นิพพานและการหลุดพ้นจากทุกข์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

147 ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - Y - หน้าที่ 14 ใช่ว่าเพียงแต่ความไม่มีระคะเท่านั้น ชื่อว่า วิราคธรรมในบาลีนั้น ก็หาไม่ ที่แท้ อสังขตธรรม ที่ได้นามต่าง ๆ มีนามว่า มทนิมฺมทโน เป็นอาทิ ตามบาลีว่า ยทิทํ มทนิมฺมทโน ฯ เป ฯ นิพฺพานํ นั้น ก็พึงได้ชื่อว่า วิราคธรรมด้วย แท้จริงวิราคธรรมนั้น ท่านเรียกว่า มทนิมุมทนะ เพราะความเมาทั้งหลายทั้งปวงมีความเมาด้วยอำนาจ มานะ และความเมาในความเป็นผู้ชาย เป็นต้น มาถึงวิราคธรรมนั้น เข้า ก็สร่าง คือ หายเมาไป และเรียกว่า ปิปาสวินยะ เพราะความ กระหายในกามทั้งหลายทั้งปวง มาถึงวิราคธรรมนั้นเข้า ก็ถึงซึ่งความ ปราศไป คือตกไป อนึ่ง เรียกว่า อาลัยสมุคุฆาคะ เพราะอาลัย คือปัญจกามคุณ มาถึงวิราคธรรมนั้นเข้า ก็ถึงซึ่งความถอนขึ้นหมด และเรียกว่า วฏฺฏจเฉทะ เพราะวัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓ มาถึง วิราคธรรมนั้นเข้าก็ขาด อนึ่ง เรียกว่า ตณฺหกขยะ วิราคะ นิโรธะ เพราะตัณหามาถึงวิราคธรรมนั้นเข้า ย่อมถึงซึ่งความสิ้นไป สำรอกไป และดับไปโดยประการทั้งปวง อนึ่งเล่า เรียกว่า นิพฺพานะ เพราะ วิราคธรรมนั้นออกไปคือสลัดตัดไปจากตัณหาอันได้โวหารว่า 'วานะ' เพราะร้อยไว้ผูกไว้เย็บไว้ซึ่งกำเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ) และ สัตตาวาส ๕ เพื่อความเป็นสืบ ๆ ไปและ อุปสมะ กล่าวคือพระนิพพาน พระโยคาวจรพึงระลึกถึงโดยอำนาจคุณทั้งหลาย มีความเป็นที่สร่างเมา เป็นต้นเหล่านั้น ดังกล่าวมาฉะนี้ หรือหนึ่ง แม้คุณแห่งอุปสมะอื่นใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในสูตรต่าง ๆ เช่นสูตรว่า "ดูกรภิกษุ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More