การประพฤติกรรมฐานในเสนาสนะที่เหมาะสม วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 93
หน้าที่ 93 / 266

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้กล่าวถึงการสร้างเมืองและเลือกสถานที่สำหรับการปฏิบัติกรรมฐาน โดยเชื่อมโยงกับประสบการณ์ของพระพุทธเจ้าและการเป็นผู้บรรลุธรรมของพระโยคี โดยเปรียบเปรยถึงการประพฤติของพระภิกษุเหมือนเสือเหลืองที่ซุ่มอยู่ในป่าเพื่อจับสัตว์ป่า การดำเนินกรรมฐานในสถานที่ที่เหมาะสมจะทำให้สามารถเข้าถึงอริยผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หัวข้อประเด็น

-การสร้างเมือง
-การเลือกเสนาสนะ
-กรรมฐานในพุทธศาสนา
-การบรรลุธรรม
-การเปรียบเทียบกับเสือเหลือง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 93 ตลอดแล้ว จึงชี้บอกว่า "ท่านทั้งหลายจงสร้างเมืองในที่นี้เถิด" ก็แลครั้นเมืองสำเร็จโดยสวัสดีแล้ว ย่อมได้รับสักการะใหญ่แต่ราชสกุล ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงตรวจดู เสนาสนะอันเหมาะแก่พระโยคาวจรแล้วจึงทรงชี้บอกว่า "กรรมฐาน ควรประกอบในสถานที่นี้" แต่นั้น ครั้นพระอรหัตผล อันพระโยคี ผู้ประกอบกรรมฐาน ณ ที่นั้นได้บรรลุโดยลำดับแล้ว ย่อมทรงได้รับ สักการะใหญ่ (โดยสรรเสริญพระคุณ) ว่า "พระผู้พระเจ้านั้น เป็นพระสัมมาสัมพุทธะหนอ" ดังนี้ ส่วนว่าภิกษุ (โยค) นี้ท่าน กล่าวว่าเป็นดุจเสือเหลือง จึงทราบอธิบายว่า เหมือนอย่างพญาเสือ เหลืองใหญ่อาศัยพงหญ้าหรือป่ารกหรือคงเข้าในป่าซุ่มอยู่ จึงจับสัตว์ ป่าทั้งหลายมีกระบือป่า กวาง และสุกรป่าเป็นต้นได้ ฉันใด ภิกษุ ผู้ประกอบกรรมฐานอยู่ในเสนาสนะอันเหมาะทั้งหลาย มีป่าเป็นอาทิ ก็ย่อมคว้าเอาโสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตมรรค และอริยผลตามลำดับได้ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะ เหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า อุปมาดังเสือเหลืองซุ่มตัวอยู่ จึงจับสัตว์ป่าได้ ฉันใดก็ดี พระพุทธบุตรประกอบความเพียร บำเพ็ญวิปัสสนานี้ก็ฉันนั้นแล (ต้อง) เข้าป่า จึงคว้าเอาอุดมผลได้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงเสนาสนะป่าอันเป็น โยคภูมิ (ที่ทำความเพียร) แห่งผู้มีความบากบั่นและความว่องไว
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More