วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - ไขข้อและมุตติ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 79
หน้าที่ 79 / 266

สรุปเนื้อหา

บทนี้อธิบายถึงการทำงานของไขข้อต่าง ๆ ในร่างกายที่มีผลต่อการเคลื่อนไหว โดยไขข้อแต่ละประเภทจะมีหน้าที่ต่างกัน ผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวและความเจ็บปวดของผู้ที่มีไขข้อน้อยหรือมาก ทั้งยังกล่าวถึงการไหลของมุตติภายในร่างกายอีกด้วย ข้อมูลนี้มีประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจในสรีรวิทยาและการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะเรื่องการเคลื่อนไหวและอาการเจ็บปวดจากไขข้อ

หัวข้อประเด็น

-บทบาทของไขข้อ
-ผลกระทบต่อการเคลื่อนไหว
-วินิจฉัยมุตติ
-อาการเจ็บปวดในร่างกาย
-ความสัมพันธ์ระหว่างไขข้อและร่างกาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - - หน้าที่ 79 ร่างกาย ไขข้อนั้น โดยสี มีสีดังยางดอกกรรณิการ์ โดยสัณฐาน มีสัณฐานตามโอกาส (ที่อยู่ของมัน) โดยทิศ เกิดในทิศทั้ง ๒ โดย โอกาส มันอยู่ภายในข้อต่อ ๑๘๐ แห่ง คอยทำหน้าที่ทาข้อต่อกระดูก ทั้งหลาย ก็แลไขข้อนั้น ของผู้ใดมีน้อย เมื่อผู้นั้นลุก นั่ง ก้าว ถอย คู่ เหยียด กระดูกทั้งหลายจะลั่นดังกฏะกฏะ คล้ายคนเที่ยวทำ เสียงดีดมือไปฉะนั้น เมื่อเขาเดินทางแม้สัก ๑ โยชน์ ๓ โยชน์ วาโย- ธาตุจะกำเริบ ตัวจะระบม แต่ว่าของผู้ใดมีมาก กระดูกทั้งหลายของ ผู้นั้นจะไม่ลั่นดังกฏะกฏะในเพราะความเคลื่อนไหวมีลุกนั่นเป็นต้น เมื่อ เขาเดินทางแม้ไกล วาโยธาตุก็ไม่กำเริบ ตัวก็ไม่ระบม โดยตัดตอน กำหนดตัดด้วยส่วนของไขข้อเอง นี่เป็น (สภาค บริเฉท) ตัดตอนด้วยส่วนของตนแห่งไขข้อนั้น ส่วน (วิสภาคบริ เฉท) ตัดตอนด้วยส่วนที่ผิดกับตน ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล [มุตติ - มูตร] วินิจฉัย คำว่า มุตติ - บุตร บุตรนั้น โดยสี มีสีดังน้ำด่างถั่ว มาส โดยสัณฐาน มีสัณฐานดังน้ำอยู่ภายในหม้อน้ำที่เขาตั้งคว่ำปากไว้ โดยทิศ เกิดในทิศเบื้องล่าง โดยโอกาส มันอยู่ภายในหัวไส้ กระเพราะเบา ท่านเรียกชื่อว่าหัวไส้ ซึ่งเป็นที่ที่น้ำมูตรแต่สรีระ (ซึม) เข้าไป แต่ว่าทางเข้าไปของมันไม่ปรากฏ ปรากฏแต่ทางออก เหมือน น้ำครำ (ซึม) เข้าไปในหม้อเนื้อหยาบไม่มีปาก ที่เขาวาง (แช่) ไว้ ในแอ่งน้ำครำได้ แต่ทางเข้าไปของมันไม่ปรากฏฉะนั้น อนึ่ง เมื่อ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More