วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 122
หน้าที่ 122 / 266

สรุปเนื้อหา

ในเนื้อหานี้จะกล่าวถึงการปฏิบัติอานาปานสติ ซึ่งเป็นแนวทางที่พระพุทธเจ้าได้สั่งสอนไว้ โดยภิกษุที่ปฏิบัติอย่างจริงจังจะทำให้โลกสว่างขึ้นยิ่งกว่าดวงจันทร์ที่พ้นจากหมอก เนื้อหายังกล่าวถึงการฝึกสมาธิและการดับความกระสับกระส่ายของร่างกาย เพื่อให้เกิดความราบรื่นในการทำกรรมฐานและการนั่งสมาธิอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นถึงความสำคัญของการฝึกฝนสติในแต่ละขั้นตอน การลดความกระสับกระส่ายจะทำให้สามารถเข้าถึงภาวะแห่งการรู้แจ้งได้รวดเร็วขึ้น.

หัวข้อประเด็น

-การบรรลุธรรมวิเศษ
-อานาปานสติ
-การปฏิบัติที่ถูกต้อง
-การพัฒนาจิตใจ
-อุปมาในการฝึกสมาธิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 122 ประโยคให้สำเร็จ บรรลุธรรมวิเศษได้ ด้วยประการฉะนี้ อานาปานสติ อันภิกษุใดลำเพ็ญดีเต็มที่แล้ว สั่งสม (ทำให้ช่ำชอง) โดยลำดับ ตามที่ พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ภิกษุนั้น ย่อมยัง โลกนี้ให้สว่าง ดุจดวงจันทร์พ้นจากหมอก ส่องแสงอยู่ฉะนั้น' แล นี่เป็นอุปมาด้วยเลื่อย ก็การที่พระโยคีไม่ต้องใส่ใจไปตามลมที่มาและ ไปอย่างเดียวเท่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นประโยชน์ (ที่ต้องการ) ในข้อนี้ สำหรับผู้มนสิการกรรมฐานนี้ลางท่าน นิมิตจะเกิด และ ฐปนา กล่าวคืออัปปนาอันประดับด้วยองค์ฌานที่เหลือ จะสำเร็จไม่ช้าเลย แต่สำหรับลางท่าน เมื่อความกระสับกระส่ายทางกายรำงับลงด้วยอำนาจ ความดับไปแห่งลมอัสสาสะปัสสาสะที่หยาบโดยลำดับ จับแต่กาลที่ มนสิการ โดยวิธีนับ ทั้งกายทั้งจิตย่อมเบา สรีระเป็นประหนึ่งถึงซึ่ง อาการลอยอยู่ในอากาศ เมื่อคนมีกายกระสับกระส่าย นั่งบนเตียงหรือ ตั้งก็ตาม เตียงตั่งย่อมโยกย่อมลั่น เครื่องลาดย่อมยับ แต่เมื่อคนมีกาย ไม่กระสับกระส่ายนั่ง เตียงตั่งก็ไม่โยกไม่ลั่นเลย เครื่องลาดก็ไม่ยับ เตียงตั่งเป็นดังว่ายัดนุ่น เพราะอะไร เพราะกายที่ไม่กระสับกระส่าย ย่อมเบา ฉันใด เมื่อความกระสับกระส่ายทางกายรำงับลงด้วยอำนาจ ความดับไปแห่งลมอัสสาสะปัสสาสะที่หยาบโดยลำดับ จับแต่กาลที่ บ. ป. ๓๑/๒๕๘
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More