วิสุทธิมรรค: เมตตาเจโตวิมุติ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 188
หน้าที่ 188 / 266

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาว่าด้วยการวิเคราะห์เกี่ยวกับเมตตาเจโตวิมุติในบริบทของวิสุทธิมรรค โดยมีการกล่าวถึงลักษณะอโนธิโสผรณาและโอธิโสผรณา ซึ่งมีอาการแตกต่างกัน 5 และ 3 ตามลำดับ ทั้งนี้ มีข้อความเรียกร้องให้สัตว์ทั้งหลายมีความสุขและปราศจากเวร จึงทำให้ผู้ศึกษาควรเข้าใจถึงความลึกซึ้งของธีมนี้ และวิเคราะห์ความสำคัญของเมตตาในบริบททางปรัชญาและศาสนา

หัวข้อประเด็น

-เมตตาเจโตวิมุติ
-วิสุทธิมรรค
-อโนธิโสผรณา
-โอธิโสผรณา
-พระโยคาวจร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 187 เป็นอโนธิโสผรณาด้วยอาการ ๕ เมตตาเจโตวิมุติ เป็นโอธิโสผรณา ด้วยอาการ ๓ เมตตาเจโตวิมุติ เป็นทิสาผรณาด้วยอาการ ๑๐" ดังนี้ แม้ลักษณะ (ที่นับว่าวิกุพพนา) นั้น บัณฑิตก็พึงทราบว่า ย่อมสำเร็จ แก่พระโยคาวจรผู้มีจิตถึงอัปปนา ฉันนั้นเหมือนกัน [อโนธิโสผรณา ๕] ก็แลในลักษณะเหล่านั้น เมตตเจโตวิมุติ บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นอโนธิโสผรณาด้วยอาการ ๕ นี้ คือ (๑) สพฺเพ สตฺตา อเวรา อพยาปัชฌา อนีฆา สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มี ความบีบคั้น ไม่มีทุกข์ มีความสุข รักษาตนอยู่เถิด (๒) สพฺเพ ปาณา----- ขอปาณะ (ผู้เนื่องด้วยลมหายใจ) ทั้งหลายทั้งปวง---- (๓) สพฺเพ ภูตา---- ขอภูต (ผู้เป็นแล้วป ทั้งหลายทั้งปวง (๔) สพฺเพ บุคคลา---- ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง---- (๕) สพฺเพ อตฺตภาวปริยาปนนา อเวรา ฯเปฯ ปริหรันตุ ขอผู้เนื่องอยู่ในอัตภาพทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ รักษา ตนอยู่เถิด [โอธิโสผรณา ๓] เมตตาเจโตวิมุติ บัณฑิตพึงทราบว่าเป็นโอธิโสผรณาด้วยอาการ ขุ. ป. ๓๑/๔๓๘๓
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More