วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 264
หน้าที่ 264 / 266

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้กล่าวถึงอุปมาเกี่ยวกับการเกาะอิงในที่ไม่สะอาด โดยมีบุรุษสองคนที่เกาะมณฑปและคนที่ยืนอยู่ข้างนอกซึ่งไม่อาศัยในความไม่สะอาด เมื่อมีความรู้สึกว่าการเกาะอิงนั้นอาจนำไปสู่ความไม่ปลอดภัย นักปราชญ์จึงใช้บริบทนี้เพื่ออธิบายลักษณะและธรรมชาติของการติดข้องในรูปนิมิต ในที่สุดผู้ที่เข้าใจในธรรมะจะต้องตระหนักว่าการไม่เกาะอิงในสิ่งที่ไม่สะอาดนั้นเป็นหนทางสู่การหลุดพ้นและการเข้าถึงอารมณ์ที่แท้จริง.

หัวข้อประเด็น

-การเกาะอิงในธรรมะ
-ความไม่สะอาดและผลกระทบ
-อุปมาและการศึกษาในธรรม
-การเลือกระหว่างอิงและไม่อิง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 263 ไม่สะอาด คนหนึ่ง (มา) อาศัย (เกาะ) บุรุษ ผู้นั้น คนหนึ่ง (มา) ไม่อาศัย (เกาะ) ผู้นั้น (ยืนอยู่) ข้างนอก และอีกคนหนึ่ง (มา) อาศัย (อิง) คนที่ยืนอยู่ข้างนอกนั้นยืนอยู่ อารูปสมาบัติ ทั้ง ๔ นักปราชญ์พึงทราบโดยความเป็นธรรมชาติ เสมอกับบุรุษ ๔ คนนั่นโดยลำดับเถิด (ต่อไป) นี้ เป็นคำประกอบความในอุปมานั้น เรื่องมีว่า มีมณฑป หลังหนึ่ง (อยู่) ในที่ไม่สะอาด คราวนั้นบุรุษผู้หนึ่งมา (ที่นั่น) เกลียด ที่ไม่สะอาดนั้น จึงโหนมณฑปนั้นด้วยมือ (ทั้งสองข้าง) เกาะอยู่ที่ มณฑปนั้นราวกะถูกแขวนไว้ ครั้นแล้ว อีกคนหนึ่งมาอาศัย (เกาะ) บุรุษผู้เกาะมณฑปนั้น แล้วคนหนึ่งมาถึง คิดว่า "บุรุษผู้มีเกาะ มณฑป และผู้ที่อาศัย (เกาะ) บุรุษนั้นก็ดี ทั้งสองนี้ท่าลำบาก และ การตกเหวมณฑปจะต้องมีแก่เขาทั้งสองเป็นแม่นมั่น เอาเถิด เราอยู่ ข้างนอกนี่ละ" ดังนี้แล้ว เขาไม่อาศัย (เกาะ) คนที่อาศัย (เกาะ) บุรุษคนแรกนั้น คงยืนอยู่ข้างนอกนั้นเอง แล้วอีกคนหนึ่งมา สำคัญ (เห็น) คนที่คิด (เห็น) ความไม่ปลอดภัยแห่งบุรุษผู้เกาะมณฑปและ คนที่อาศัย (เกาะ) บุรุษนั้นด้วย แล้วยืนอยู่ข้างนอกนั่นแหละ (ว่า) ท่าดี จึงอาศัย (อิง) คนที่ยืนข้างนอกนั้นอยู่ กสิณุคฆาฎิมากาส (อากาศตรงที่กสิณเพิก) บัณฑิตจึงเห็น เหมือนมณฑป (อยู่) ในที่ไม่สะอาด ในคำอุปมานั้น อากาสานัญจา ยตนะ อันมีอากาศเป็นอารมณ์ เพราะเกลียดรูปนิมิต พึงเห็นเหมือน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More