วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 193
หน้าที่ 193 / 266

สรุปเนื้อหา

ในเนื้อหานี้ได้มีการวิเคราะห์คำว่าอัตภาพซึ่งหมายถึงขันธ์ ๕ และการทำความเข้าใจสัตว์ทั้งหลายในแง่มุมต่าง ๆ คำเหล่านี้ช่วยชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของคำในปรัชญาและการปฏิบัติในแนวทางแห่งการทำจิตให้บริสุทธิ์ สัตว์ทั้งหลายที่กล่าวถึงมีอธิบายวิธีมองเห็นความหมายที่แตกต่าง รวมถึงการใช้คำไวพจน์ในการสื่อสารทางปัญญา นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงพระโยคาวจรที่ไม่ควรไปยึดติดกับตัวตนในทางปรมัตถ์ เพราะในแง่ของจริงไม่มีตัวตนอยู่จริง สุดท้าย เนื้อหาในเชิงปรัชญานี้สะท้อนถึงความต้องการที่แตกต่างในการตีความถึงสิ่งที่มีอยู่และการศึกษาเกี่ยวกับใจและความเป็นจริง

หัวข้อประเด็น

-อัตภาพและขันธ์ ๕
-ความสัมพันธ์ของสัตว์ในปรัชญา
-ไวพจน์ของคำในปรัชญา
-การทำจิตให้บริสุทธิ์
-การตีความและการศึกษา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 192 ร่างกาย เรียกอัตภาพ อีกนัยหนึ่ง อัตภาพ ก็คือขันธ์ ๕ นั่นเอง คำว่าอัตภาพนี้ ก็เป็นแต่คำที่หมายเอาขันธ์ ๕ บัญญัติขึ้นโดยสภาวะ สัตว์ทั้งหลายนับเนื่องอยู่ในอัตภาพนั้น เหตุนั้นจึงชื่อ อตฺตภาวปริยา ปนฺน คำ ปริยาปนฺน - นับเนื่อง หมายความว่ากำหนดไว้ (ในนั้น) อยู่ภายใน (นั้น) ก็แล คำว่า สตฺตา - สัตว์ทั้งหลาย (มีความหมาย) ฉันใจ แม้คำที่เหลือ (มีคำว่าปาณาเป็นต้น ก็มีความหมาย) ฉันนั้น บัณฑิต พึงทราบว่า คำเหล่านั้นเป็นไวพจน์ของคำว่า "สรรพสัตว์" ทั้งนั้น แหละ เพราะยกขึ้นด้วยอำนาจรุฬหิศัพท์ ไวพจน์ของคำสรรพสัตว์อื่น ๆ เช่นว่า สพฺเพ ชนฺตุ สพฺเพ ชีวา ยังมีอยู่อีกก็จริง แต่ทว่า (ในปฏิสัมภิทา) ท่านถือเอาคำ ๕ คำนี้ เท่านั้น กล่าวไว้ว่า "เมตตาเจโตวิมุติ เป็นอโนธิโสผรณาด้วย อาการ ๕" ดังนี้ ก็โดยที่ (คำทั้ง ๕ นั้น) เป็นคำปรากฏ (คือเด่น) ส่วนเกจิอาจารย์เหล่าใดไม่ต้องการ (ให้เป็น) เพียงความที่คำทั้งหลาย มี สตฺตา ปาณา เป็นต้น เป็นไวพจน์กันเท่านั้น แต่หากต้องการถึง ความที่คำเหล่านั้นต่างกันโดยอรรถด้วย ความต้องการของเกจิอาจารย์ เหล่านั้น ผิดจากอโนธิโสผรณา” เพราะฉะนั้น พระโยคาวจร ไม่ควร ๑. คือโดยลักษณะที่มันเป็นของมันได้ มิใช่โดยปรมัตถ์ เพราะว่าโดยปรมัตถ์แล้ว ตัวตนบุคคล หามีไม่ ? ๒. เววจนมตฺโต นั้น ในมหาฎีกาเป็น เววจนตามตฺติ เห็นว่าของท่านถูก เพราะมี สตฺตา ปาณาติอาทีน เป็นภาวาที่สัมพันธ์อยู่ข้างหน้า และเป็นอวุตตกรรม ใน อิจเฉย เสมอกับบท นานตฺติ ข้างหลัง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More