ข้อความต้นฉบับในหน้า
- หน้าที่ 5
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - 1
เพชฌฆาตคิดว่าจักตัดศีรษะคนผู้นี้ ถือดาบจ่อที่คอ ยืนประชิดตัวอยู่
ฉันใด แม้ความตายก็ปรากฏฉันนั้นเหมือนกัน ถามว่า เพราะอะไร
ตอบว่า เพราะมันมาพร้อมกับความเกิด และเพราะมันคร่าเอาชีวิตไป
อุปมาเหมือนดอกเห็ด ย่อมพาเอาฝุ่นติดตัวขึ้นมาด้วยฉันใด สัตว์
ทั้งหลายก็พาเอาความแก่และความตายเกิดมาด้วยฉันนั้น จริงอย่างนั้น
ปฏิสนธิจิตของสัตว์เหล่านั้นก็ถึงซึ่งความแก่ในลำดับแห่งความเกิดขึ้น
นั้นเอง แล้วก็แตก (ดับ) ไปพร้อมกับสัมปยุตขันธ์ทั้งหลาย ดังศิลา
ตกจากยอดเขาแตกไปฉะนั้น (นี่ว่าด้วย) ขณิกมรณะมาพร้อมกับความ
เกิดก่อน แต่แม้มรณะที่ท่านประสงค์เอาในมรณสตินี้ ก็จัดว่ามาพร้อม
กับความเกิด เพราะความที่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว ต้องตายเป็นแน่ เพราะ
เหตุนั้น อันว่าสัตว์นั่น จำเดิมแก่กาลที่เกิดแล้วก็บ่ายหน้าสู่ความตาย
ไปไม่กลับเลยแม้สักน้อยเดียว เปรียบดั่งดวงสุริยะที่ขึ้นแล้ว ย่อมบ่าย
หน้าสู่ความตกไปท่าเดียว มิได้กลับแต่ที่ ๆ ไป ๆ แล้วแม้สักหน่อย
หนึ่ง หรือมิฉะนั้น เหมือนลำธารที่ไหลลงจากภูเขา มีกระแสเชี่ยว
พัดพาเอาสิ่งที่มันจะพาไปได้ไหลรุดไปท่าเดียว มิได้ (ไหล) กลับ
แม้สักนิดฉะนั้น เพราะฉะนั้น พระอโยฆรกุมารโพธิสัตว์จึงกล่าวว่า
* ปาฐะในฉบับวิสุทธิมรรคเป็น อนิจฉัตตก์ มกุล แต่ในมหาฎีกาเป็น อนิจฺฉตุตกมกุล เห็น
ว่าปาฐะหลังนี้เข้าทีกว่า เพราะถ้าแยกอย่างปาฐะแรกจะต้องแปลว่า "เห็ดตูม" ไม่เข้ากับความ
ในประโยค ซึ่งมิได้มุ่งจะพูดถึงเห็ดตูมเห็ดบาน แต่มุ่งจะพูดถึงเห็ดที่ขึ้นจากดิน พาเอาดินติดหัว
ขึ้นมาด้วย จึงเหมาะที่จะเป็น อนิจฺฉตุตกมกุล ซึ่งแปลได้ว่า "ดอกเห็ด" ขึ้นชื่อว่าดอกเห็ดแร
ขึ้นจากดิน มันก็ตูมก่อนทั้งนั้น แล้วจึงได้บานภายหลัง