ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ ·
- หน้าที่ 254
ล่วงอากิญจัญญายตนะ" นี้ พึงทราบว่าท่านกล่าวรวมเอาฌานและ
อารมณ์ทั้งสองนั่นเข้าด้วยกัน
ส่วนในบทว่า "เนวสัญญานาสัญญายตนะ" นั้นมีอรรถาธิบายว่า
ฌานนั้นเรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะความมีแห่งสัญญาใด
สัญญานั้นย่อมมีแก่พระโยคาวจร ผู้ปฏิบัติอย่างใด ในวิภังค์จะแสดง
ความปฏิบัติของพระโดยคาวจรนั้นก่อน จึงยกขึ้น (เป็นปุคคลาธิฏฐาน)
ว่า "เนวสัญญีนาสัญญี" แล้วกล่าว (อธิบาย) ว่า พระโยคาวจรทำ
ในใจซึ่งอากิญจัญญายตนะนั้นนั่นแล โดยว่าเป็นธรรมละเอียด ทำจน
เป็นสังขาราวเสสสมาบัติ (สมาบัติมีเพียงเศษสังขารเป็นอารมณ์ ?)
เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า "เนวสัญญีนาสัญญี" ดังนี้ ในคำเหล่านั้น
คำว่า "ทำในใจโดยว่าเป็นธรรมละเอียด" นั้น คือ ทำในใจซึ่งอากิญ
จัญญายตนะนั้นว่าเป็นสมาบัติละเอียด เพราะความที่มีอารมณ์ละเอียด
(โดยนัย) ดังนี้ว่า 'สมาบัตินี้ละเอียดจริงหนอ ดูเถิด สมาบัติไรเล่า
จักทำแม้ความไม่มี (แห่งวิญญาณ) ให้เป็นอารมณ์ตั้งอยู่ได้
หากมีคำท้วงว่า "พระโยคาวจร (มัว) ทำในใจ (ซึ่งอากิญ
จัญญายตนะ) โดยว่าเป็นธรรมละเอียด (อยู่เช่นนั้น) ความก้าวล่วง
จะมีได้อย่างไร" จึงเฉลยว่า "(ความก้าวล่วงมีได้) เพราะความที่
พระโยคาวจรมิได้เป็นผู้ปรารถนาจะเข้า (อากิญจัญญายตนะนั้น) จริง
อยู่เธอทำในใจซึ่งอากิญจัญญายตนะนั้นโดยว่าเป็นธรรมละเอียด (เช่น
มหาฎีกาช่วยเสริมความว่า เมื่อทำในใจเช่นนั้น ความเห็นโทษก็ไม่มี เมื่อไม่มีเห็นโทษจะก้าว
ล่วงได้อย่างหร