ความรัก ความปรานี และการมองเห็นในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 211
หน้าที่ 211 / 266

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงลักษณะของสิเนหา (ความรัก) ซึ่งภายใต้การตีความนั้นสามารถแปรไปเป็นวิบัติ (ทางลบ) ในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะความเมตตาและกรุณาที่ถูกหลอกลวงโดยราคาและความโศก. นอกจากนี้ยังมีการแก้ไขโดยไตร่ตรองถึงมิติใหม่ ๆ เช่น มุทิตา และอุเบกขาที่ยืนยันความเป็นกลางและความปรานีในแต่ละสัตว์. นักอ่านสามารถสัมผัสถึงความสำคัญของการพัฒนาจิตใจในวิธีที่สร้างสรรค์เพื่อปลดปล่อยตนเองจากกิเลสและความยึดมั่น.

หัวข้อประเด็น

-วิสุทธิมรรค
-ความรัก
-เมตตา
-กรุณา
-มุทิตา
-อุเบกขา
-การปลดปล่อยจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 210 สิเนหา (คือกลายเป็นความรักด้วยตัณหาไป) เป็นวิบัติ (คือวิปริตไป) แห่งเมตตานั่น กรุณา มีความเป็นไปโดยอาการ (คิด) เปลื้องทุกข์ (ของ สัตว์ทั้งหลาย) เป็นลักษณะ มีอันทนไม่ได้ต่อความทุกข์ของผู้อื่น เป็นรส มีความไม่เบียดเบียน (สัตว์) เป็นเครื่องปรากฏ มีอันมอง เห็นความที่สัตว์ผู้ถูกทุกข์ครอบงำทั้งหลายเป็นผู้อนาถ เป็นเหตุใกล้ ความรำงับไปแห่งวิหิงสา (ด้วยอำนาจวิกขัมภนปหาน) เป็นสมบัติ แห่งกรุณานั้น ความเกิดขึ้นแห่งความโศก (คือกลายเป็นโศกไป) เป็นวิบัติแห่งกรุณานั้น มุทิตา มีความบันเทิงใจ (ในสมบัติของผู้อื่น) เป็นลักษณะ มีความไม่หึงหวงเป็นรส มีอันกำจัดเสียได้ซึ่งความริษยา (ใน สมบัติของผู้อื่น) เป็นเครื่องปรากฏ มีอันมองเห็นสมบัติแห่งสัตว์ ทั้งหลายเป็นเหตุใกล้ ความรำงับไปแห่งอรติ (ด้วยอำนาจวิกขัมภน ปหาน) เป็นสมบัติแห่งมุทิตานั้น ความเกิดขึ้นแห่งความรื่นเริง (คือกลายเป็นสนุกรื่นเริงด้วยกิเลสไป) เป็นวิบัติแห่งมุทิตานั้น อุเบกขา มีความเป็นไปโดยอาการเป็นกลาง ในสัตว์ทั้งหลาย เป็นลักษณะ มีอันมองเห็นความเสมอกันในสัตว์ทั้งหลายเป็นรส มีอันรำงับไปแห่งความยินร้ายและความยินดี เป็นเครื่องปรากฏ มี อันเห็นกัมมัสสกตา ที่เป็นไปโดยนัยว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของ ๑. ท่านว่า ราคะมันลวงมาโดยหน้าเมตตาได้ ๒. - ๓. ความโศกลวงมาโดยหน้ากรุณาได้ ความสนุกรื่นเริงก็ลวงมาโดยหน้ามุทิตาได้
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More