การวิเคราะห์เมตตาสหคตจิตในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 187
หน้าที่ 187 / 266

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้ได้กล่าวถึงเมตตาสหคตจิตที่มีอำนาจในการแผ่และเป็นจิตที่ไม่มีประมาณ พร้อมอธิบายว่าเมตตานั้นมีความสำคัญอย่างไรในการพัฒนาจิตสงบและการเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับความเป็นไปของจิต นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับลักษณะที่อ้างถึงในปฏิสัมภิทา ซึ่งเมตตาเจตสภาวะจะต่อเนื่องกับการละข้าศึกและการไม่มีความบีบคั้นในจิต

หัวข้อประเด็น

-เมตตาสหคตจิต
-วิสุทธิมรรค
-วิกุพพนา
-พระโยคาวจร
-การพัฒนาจิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 186 สหคตจิต) มีคำว่า วิปุเลน ดังนี้เป็นอาทิ หรือว่า เพราะในตอน อโนธิโสผรณะนี้ มิได้ใช้ตถาศัพท์หรืออิติศัพท์อีก ดังในตอนโอธิโส ผรณะ (แผ่เป็นแถบ ๆ) เพราะเหตุนั้นจึงตรัสคำว่า เมตตาสหคเตน เจตสา ซ้ำอีก หรือมิฉะนั้น คำว่า เมตตาสหคเตน เจตสา (ใน ตอนนี้) นั้น (พึงทราบว่า) ตรัสโดยเป็นคำนิยม (ก็ได้) [อรรถแห่งวิกุพพนา] ก็ในบทว่า วิปุเลน เป็นต้นนั้น (พึงทราบวินิจฉัย ดังนี้) ความที่เมตตาสหคตจิตเป็นจิตกว้าง บัณฑิตจึงเห็น (ว่าเป็น) ด้วย อำนาจการแผ่ และอนึ่ง จิตนั้นเป็นจิตใหญ่ด้วยอำนาจภูมิ (คือเป็น รูปาวจร) เป็นจิตไม่มีประมาณ ด้วยอำนาจความคล่องแคล่ว และ ด้วยอำนาจความที่มีสัตว์หาประมาณมิได้เป็นอารมณ์ ชื่อว่าเป็นจิต ไม่มีเวร เพราะละข้าศึกคือพยาบาทเสียได้ ชื่อว่าเป็นจิตไม่มีความ บีบคั้น อธิบายว่า ไม่มีทุกข์ เพราะละโทมนัสได้ นี้เป็นความหมายแห่งวิกุพพนา อันกล่าวโดยนัยว่า เมตตา สหคเตน เจตสา เป็นต้น” และวิภพพนานี้ ย่อมสำเร็จแก่พระ โยคาวจรผู้มีจิตถึงอัปปนาเท่านั้น ฉันใด แม้ลักษณะ (ที่นับว่า วิกพพนา) อันใด ที่ท่านกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาว่า "เมตตาเจโตวิมุติ ๑. หมายถึง ตถา และ อิติ ที่เพ่งความข้างหน้า ดัง ตถา ทุติย์ ตถา ตติย์ ตถา จตุตถ์ และ อิติ อุทฺธมโธ ติริย์ ๒. หมายความว่า เมตตาสหคตจิต มีอาการได้ต่าง ๆ คือกว้างใหญ่ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มี ความบีบคั้น นี่แหละเรียกว่า วิกุพฺพนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More