วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 53
หน้าที่ 53 / 266

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงการเปรียบเทียบเนื้อในวิสุทธิมรรค โดยมีการบรรยายรูปร่างของเนื้อในทิศต่าง ๆ และทำการเปรียบเทียบกับสิ่งอื่น ๆ เช่น ใบตาลและมะม่วงแผ่น การใช้คำศัพท์ในบริบทต่าง ๆ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวถึงการกำหนดจำนวนกระดูกที่อาจมีความแตกต่างกันในข้อความต่าง ๆ ที่พบในเอกสารอรรถกถาเช่น ปรมัตถโชติกาอรรถกถาขุททกปาฐะ สรุปว่าเนื้อหานี้ช่วยให้เข้าใจธรรมะและการศึกษาพระไตรปิฎกได้ลึกซึ้งมากขึ้นภายใต้การแปลและการวิเคราะห์.

หัวข้อประเด็น

-การเปรียบเทียบเนื้อ
-การใช้ศัพท์ทางศาสนา
-อรรถกถาวิสุทธิมรรค
-องค์ประกอบของร่างกาย
-การศึกษาในศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 53 [เนื้อ คำว่า มิส - เนื้อ คือเนื้อ ๕๐๐ ชิ้น เนื้อทั้งปวงนั้น โดยสีแดง เช่นดังดอกทองกวาว โดยสัณฐาน เนื้อปลีแข้ง สัณฐานดังข้าวในห่อ ใบตาล" เนื้อขา สัณฐานดังลูกหินบด เนื้อสะโพก สัณฐานดังก้อน เส้า เนื้อหลัง สัณฐานดังแผ่นตาลงบ” เนื้อสีข้างทั้งสอง สัณฐาน ดังดินไว้บาง ๆ ตามท้องฉางข้าว” เนื้อนม สัณฐานดังก้อนดินที่เขา ผูกไว้แล้วมันคล้อยลง เนื้อแขนทั้งสองข้าง สัณฐานดังหนูตัวใหญ่ ถลกหนัง เขาตั้งไว้ทำเป็น ๒ ชั้น เมื่อพระโยคาวจรกำหนดเนื้อหยาบ ๆ ได้อย่างนี้" sur S’SUP> แม้เนื้อที่ละเอียดก็ย่อมจะปรากฏ โดยทิศ เนื้อนั้นเกิด ในทิศทั้ง ๒ โดยโอกาส มันโอบอยู่ตามกระดูก ๓๐๐ ท่อนกว่า ๆ › SUP> ๑. ใบตาลนั้นแข็ง จะห่อพับอย่างใบตองหรือใบบัวไม่ได้ คงจะต้องเย็บเป็นกล่องรูปกระบอก ท่านจึงนำมาเปรียบกับเนื้อปลีแข้ง ๒. ตาลคุฬปฏล มหาฎีกาบอกไว้ว่า เขาเอาเยื่อตาลสุกมาได้บาง ๆ บงที่ใบตาลหรืออะไรก็ได้ ที่แบน ๆ ผึ่งแดดไว้จนหมาดติดกันแล้วลอกเอาเป็นแผ่น ๆ ดังนี้ท่วงทีก็คล้าย "มะม่วงแผ่น" ของไทยเรา คือมะม่วงกวนแล้วไล้แผ่ผึ่งแดด ลอกเอาเป็นแผ่น ๆ เหมือนกัน จะต่างกัน ก็ที่ตาลแผ่นไม่ได้กวน แต่มะม่วงแผ่นกวนก่อน เพราะทำเป็นแผ่นจึงเรียกว่างบ ๓. ท่านใช้ กุจิ ก็ต้องแปลว่าท้อง แต่ว่าในภาษาไทยก็ดูเหมือนจะใช้นัยเดียวกัน คือ บรรดา สิ่งที่มีระวางบรรทุกหรือบรรจุของเก็บของได้ ก็ใช้คำว่าท้องทั้งนั้น เช่น ท้องพระคลัง ท้องเรือ ท้องคลอง ฯลฯ ๔. เนื้อแขนท่อนบนชั้น ๑ ท่อนล่างชั้น ๑ เช่นนั้นกระมัง ๕. ปาฐะในวิสุทธิมรรคพิมพ์ไว้เป็น เอก เข้าใจว่าพิรุธ ที่ถูกเป็น เอว มีที่เทียบในตอน นหารู คือ เอว์ โอฬาริโกฬาริก ปริคคณฺหนฺตสฺส... ท่าเดียวกัน ๖. ปาฐะว่า นาฬิกานิ ตีณี อฏฐิสตานิ จะต้องบอกทำอะไรว่า "ไม่เกิน" คิดไม่เห็น เหตุ แต่ว่า นาฬิกานิ นั้น ฉบับพม่าเป็นวิสาธิกาน เลยกลายเป็นกระดูก ๓๒๐ ไป ได้ พบในปรมัตถโชติกาอรรถกถาขุททกปาฐะ ตอนแก้ทวดึงสาการ (หน้า ๕๒) เป็นสาธิกาน (อิมานิ สาธิกานิ ติณ อฏฐิสตานิ) ถ้าอย่างนี้ก็ต้องแปลว่า "กระดูก ๓๐๐ กว่า ๆ ปาฐะนี้น่าจะถูกกว่า เพราะในตอนว่าถึงกระดูกต่อไป ท่านใช้ศัพท์ มตฺต-ประมาณ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More