กรรมและผลของการกระทำในพระพุทธศาสนา วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 169
หน้าที่ 169 / 266

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาส่วนนี้ว่าด้วยการทำร้ายผู้อื่นซึ่งไม่ควรทำและผลกรรมที่ย้อนกลับมาถึงผู้กระทำ โดยยกตัวอย่างของโทสะเป็นเหตุที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสีย นอกจากนี้ยังพูดถึงกรรมที่มีผลต่อการเข้าถึงความรู้ต่างๆในทางธรรมและความทุกข์ที่อาจเกิดขึ้นจากกรรมดังกล่าว ข้อคิดที่ได้รับคือการกระทำใดๆ ย่อมกลับมาสู่ตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือไม่ดี เหมือนกับการโปรยฝุ่นในที่ที่ลมพัดย้อน

หัวข้อประเด็น

-กรรมและผลกรรม
-โทสะและผลกระทบ
-ความเชื่อมโยงในพระพุทธศาสนา
-การกระทำและผลลัพธ์
-คำสอนของพระพุทธเจ้า

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 168 โทสะเป็นเหตุนั้น จักเป็นไปเพื่อความเสื่อมเสียแก่เขาเองมิใช่หรือ เพราะว่าท่านผู้นี้ก็เป็นผู้มีกรรมเป็นของ ๆ ตน เป็นผู้รับมรดกของ กรรม ฯลฯ เขาจักทำกรรมอันใดไว้ เขาก็จะต้องเป็นผู้รับผลของ กรรมนั้น และกรรมอันนี้จะได้สามารถยังพระสัมมาสัมโพธิ (ญาณ) ให้สำเร็จแก่เขาก็หามิได้ ยังพระปัจเจกโพธิ (ญาณ) ให้สำเร็จแก่เขา ก็หามิได้ ยังสาวกภูมิ (ญาณ) ให้สำเร็จแก่เขาก็หามิได้ ยังสมบัติ ทั้งหลายมีความเป็นพระพรหม เป็นพระอินทร์ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ และเป็นพระราชาเฉพาะในประเทศหนึ่งเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง ให้สำเร็จแก่เขาก็หามิได้เลย ที่แท้กรรมนี้มีแต่จะยังเขาให้เคลื่อนจาก พระศาสนาแล้ว ยังภาวะแห่งคนเข็ญใจ มีความเป็นวิฆาสาทเป็นอาทิ และยังทุกข์ชั้นวิเศษทั้งหลายมีทุกข์ในนรกเป็นต้น ให้เป็นไปแก่เขา ตัวเขานั้นเมื่อทำกรรมนี้ (ลงไป) ก็เท่ากับโปรย (โทษ) ใส่ตนเอง ดังบุรุษผู้ยืนทวนลมอยู่ หวังจะโปรยฝุ่นใส่คนอื่น (ทวนลม) ก็เท่ากับ โปรยใส่ตนนั่นเองฉะนั้น" จริงอยู่ ข้อนี้พระผู้มีพระเจ้าก็ได้ตรัส ไว้ว่า "คนพาลผู้ใดทำร้ายต่อคนผู้มิได้ประทุษร้าย ซึ่ง เป็นคนบริสุทธิ์ มิได้มีความคิดชั่ว ผลร้ายก็ย่อม กลับไปถึงคนพาลผู้นั้นเอง ดังฝุ่นละเอียดที่คนชัด ไปทวนลม ก็ย่อมกลับมาถึงผู้ซัดนั่นเองฉะนั้น" * ความพิจารณากัมมัสสกตาท่อนนี้ น่าจะไปสุดที่พระคาถาทัฬหิกรณ์ ความจะได้รับกันสนิท แต่ ในฉบับวิสุทธิมรรค ลงอิติที่โอกีรติ แสดงว่าสุดที่นั่น อย่างไรอยู่
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More