น้ำดีและประเภทของมัน ในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 70
หน้าที่ 70 / 266

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้อธิบายความหมายและประเภทของน้ำดีในหนังสือวิสุทธิมรรค โดยแยกน้ำดีออกเป็น 2 ประเภท คือ ดีติดที่และดีไม่ติดที่ ทั้งนี้ น้ำดีติดที่มีสีเขียวและน้ำดีไม่ติดที่มีสีเหลืองหม่น สภาวะของน้ำดีส่งผลต่อสภาพร่างกายและจิตใจของสัตว์ เมื่อเกิดโรคดีซ่านจะทำให้ดวงตาเหลือง และเมื่อเกิดดีเดือดจะทำให้สัตว์มีอาการแห่งจิตวิปลาส เช่น ขาดความละอายและทำสิ่งที่ไม่น่าทำ เรื่องราวนี้ยังรวมถึงการตัดตอนตามลักษณะของน้ำดีและแสดงว่าการปฏิบัติที่ผิดอาจเกิดจากการที่ถูกควบคุมด้วยน้ำดี

หัวข้อประเด็น

-ประเภทของน้ำดี
-ผลกระทบของน้ำดีต่อร่างกาย
-ลักษณะและสีของน้ำดี
-โรคที่เกี่ยวข้องกับน้ำดี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - [น้ำดี] - หน้าที่ 70 คำว่า ปิตติ-น้ำดีนั้น มีพรรณนาว่า ดีมี ๒ คือ ดีติดที่ (มีฝัก) ดีไม่ติดที่ (ไม่มีฝัก) ๑ ในดี ๒ อย่างนั้น ดีติดที่ โดยที่ มีสี (เขียว) ดังน้ำมันมะซางข้น ๆ ดีไม่ติดที่ มีสี (เหลืองหม่น ?) ดังดอกพิกุลแห้ง โดยสัณฐาน ดีทั้ง ๒ อย่าง มีสัณฐานตามโอกาส (ที่อยู่ของมัน) โดยทิศ ดีติดที่เกิดในทิศเบื้องบน ดีอีกอย่างเกิด ในทิศทั้ง ๒ โดยโอกาส ดีไม่ติดที่ ยกเว้นแห่งที่พ้นจากเนื้อของผม ขน ฟัน เล็บ" และหนังที่กระด้างที่แห้งเสียแล้ว (มัน) เอิบอาบไปทั่วร่าง ที่เหลือตั้งอยู่ ดุจหยาดน้ำมัน (ที่ตกลงไปบนน้ำ) อาบแผ่ไปทั่วน้ำ ฉะนั้น ซึ่งเมื่อมันกำเริบ (เป็นโรคดีซ่าน) ดวงตาของสัตว์ทั้งหลาย จะเหลืองวิเวียนไป ตัวก็จะอักเสบเป็นผื่นคัน ที่ติดที่ ขังอยู่ในฝัก น้ำดี” ซึ่งคล้ายกับรังบวบใหญ่ อยู่ติดเนื้อต่ำในระหว่างหัวใจกับ ปอด ซึ่งเมื่อมันกำเริบ (เป็นดีเดือด) สัตว์ทั้งหลายจะเป็นบ้าขึ้น จิตวิปลาสไป ละเลยหิริโอตตัปปะ ที่ไม่น่าทำก็ทำได้ ที่ไม่น่าพูดก็พูด ได้ ที่ไม่น่าคิดก็คิดไปได้ โดยตัดตอน กำหนดตัดด้วยส่วนของดีเอง นี่เป็น (สภาค- บริเฉท) ตัดตอนด้วยส่วนของตนแห่งดีนั้น ส่วน (วิสภาคบริเฉท) ตัดตอนด้วยส่วนที่ผิดกับตน ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล ๑. เกสโลมทนตนบาน น่าจะเรียงลำดับผิด ในปรมัตถโชติกาเป็น เกสโลมนบทนฺตานํ ถูกลำดับ ๒. เดี๋ยวนี้มักเรียกกันว่า ถุงน้ำดี
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More