วิสุทธิมรรค: ความเข้าใจเกี่ยวกับโลหิตและเสโท วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 73
หน้าที่ 73 / 266

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความสำคัญของโลหิตและเสโทในร่างกาย โดยอธิบายว่าการหลั่งเสโทซึ่งเป็นส่วนนึงของอาโปธาตุมีโอกาสเกิดขึ้นที่ใด และมีผลต่อสภาพร่างกายอย่างไร การพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างตับและโลหิตก็เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งอธิบายได้ว่าโลหิตทำให้ตับและอวัยวะอื่นๆ มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ และยังมีการอธิบายเกี่ยวกับการเกิดโลหิตและเสโทภายในร่างกายอย่างละเอียด.

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของโลหิต
-การอธิบายเกี่ยวกับเสโท
-การทำงานในร่างกาย
-ความสัมพันธ์ระหว่างตับและโลหิต
-การเกิดของโลหิตในร่างกาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

- หน้าที่ 73 ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - เกิดทั้ง ๒ ทิศ โดยโอกาส สังสรณโลหิตเว้นแห่งที่พ้นจากเนื้อของ ผม ขน ฟัน เล็บ และหนังที่กระด้างที่แห้งเสียแล้ว (มัน) แผ่ไปทั่ว ร่างกายที่มีใจครองทั้งสิ้น ตามสายข่ายเส้น (เลือด) อยู่เสมอ สันนิ จิตโลหิต (ขังอยู่) เต็มส่วนใต้ที่ตั้งของตับ มีประมาณเต็มบาตรหนึ่ง ค่อย ๆ ซึมไปบนไต หัวใจ ตับ และปอด ทำไตหัวใจตับและปอดให้ ชุ่มอยู่เสมอ เพราะว่าเมื่อมันไม่ทำไตและหัวใจเป็นต้นให้ชุ่มอยู่ สัตว์ ทั้งหลายจะเกิดระหายขึ้น โดยตัดตอน กำหนดตัดด้วยส่วนของโลหิต เอง นี่เป็น (สภาคบริเฉท) ตัดตอนด้วยส่วนของตนแห่งโลหิตนั้น ส่วน (วิสภาคบริเฉท) ตัดตอนด้วยส่วนที่ผิดกับตน ก็เช่นเดียวกับผม นั่นแล [เสโท-เหงื่อ] คำว่า เสโท เหงื่อ ได้แก่อาโปธาตุที่ไหลออกตามช่องใน ร่างกายมีช่องขุมขนเป็น เสโทนั้น โดยสี สีสีดังสีน้ำมันงาใส โดย สัณฐาน มีสัณฐานตามโอกาส (ที่อยู่ของมัน) โดยทิศ เกิดทั้ง ๒ ทิศ โดยโอกาส ชื่อว่าโอกาสประจำของเสโท ซึ่งเป็นที่ ๆ มันจะพึงตั้งอยู่ ทุกเมื่อเหมือนดัง (สันนิจิต) โลหิตหามีไม่ ต่อเมื่อใด ร่างกายร้อน ๑. ก็คงจะบาตรย่อม ๆ อีกนั่นแหละ ๒. เนื่องจากน่าจะมีปัญหาว่าตับ (ยกนะ) นั้นก็ว่ามีเลือกขังแช่อยู่แล้ว ไฉนจึงยกมากกล่าว ในตอนนี้อีกเล่า มหาฎีกาจึงไขความไว้ว่า ขอให้เข้าใจว่า ตับ (ยกนะ) นั้นชุ่มด้วยเลือด ที่ขังอยู่นั่นแหละ นอกนั้นชุ่มด้วยเลือดที่ซึมไป”
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More