ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 112
[วิธีฝึกหัดทํา]
က
ก็เพราะว่าในจตุกกะทั้ง ๔ นั้น จตุกกะนี้เท่านั้นที่ตรัสโดยเป็น
กรรมฐานสำหรับอาทิกัมมิกะ (ผู้เริ่มปฏิบัติ) ส่วนจตุกกะ ๓ นอกนี้
ตรัสโดยเป็นเวทนานุปัสนา จิตตานุปัสนา และธัมมานุปัสนา สำหรับ
ผู้ได้ฌานในจตุกกะแรกนี้แล้ว เพราะเหตุนั้น อาทิกัมมิกกุลบุตรผู้ใคร่
จะเจริญกรรมฐานนี้แล้ว บรรลุพระอรหัตพร้อมทั้งปฏิสัมภิทา ด้วย
วิปัสนาอันมีอานาปานจตุตถฌานเป็นปทัฏฐาน ก็พึงทำกิจทั้งปวงมีการ
ทำศีลให้บริสุทธิ์เป็นอาทิ โดยนัยที่กล่าวมาก่อนนั้นและ แล้วจึงเรียน
เอากรรมฐานอันมีสนธิ ๕” ในสำนับของอาจารย์ผู้มีประการดังกล่าว
แล้วเถิด
[ปัญจสนธิ]
นี้สนธิ ๕ ในคำนั้น คือ อุคคหะ ปริปุจฉา อุปัฏฐาน อัปปนา
ลักขณะ ในสนธิ ๕ นั้น การเรียนเอา (แบบแผน) กรรมฐาน
ชื่อว่าอุคคหะ การไต่ถาม (ข้อความ) กรรมฐาน ชื่อว่าปฏิปุจฉา
ความปรากฏแห่ง (นิมิต) กรรมฐาน ชื่อว่าอุปัฏฐาน ความแน่วแน่
แห่งกรรมฐาน ชื่อว่าอัปปนา ความกำหนดกรรมฐานไว้ มีอธิบายว่า
จดจำสภาพแห่งกรรมฐานไว้ว่า กรรมฐานนี้มีลักษณะอย่างนี้ ชื่อว่า
ลักษณะ
พระโยคาวจร เมื่อเรียนเอากรรมฐานมีสนธิ ๕ ดังนี้ ตัวเอง
* ปญฺจสนธิก มหาฎีกาและให้แปลว่า ปญฺจปพพ์ - ๕ หมวด ๕ ข้อ หรือ ปญจภาคี - ๕ ส่วน