ข้อความต้นฉบับในหน้า
นับเริ่มแต่ว่า ‹
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 115
เป็นต้น ก็ดุจนัยนี้ ฉันใด แม้อาทิกัมมิกกุลบุตรนี้ ก็พึงถือเอาลม
อัสสาสะปัสสาสะอันที่ปรากฏ” กำหนดลมซึ่งเป็นไปอยู่เรื่อย ๆ นั่นแหละ
๑.๑ จนถึง ๑๐.๑๐ ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเธอนับ
อยู่อย่างนั้น ลมอัสสาสะปัสสาสะที่ออกและเข้าอยู่ย่อมปรากฏ
[นับเร็ว]
ทีนี้ เธอพึงละวิธีนับช้า คือนับอย่างคนตวงข้าวเปลือกนั้นเสีย
แล้ว นับโดยวิธีนับเร็ว คือนับอย่างโคบาล จริงอยู่ โคบาลผู้ฉลาด
พกก้อนกรวด ถือเชือกและไม้ตะพด ไปสู่คอก (โค) แต่เช้าตรู่ (เปิด
คอก) หวดโคหลายตัวเข้าที่หลัง แล้ว (ขึ้น) นั่งบนปลายเสาลิ่ม
(คอย) นับแม่โคที่ออกมา ๆ ถึงประตูว่า ๑.๒---- (โดย) ซัดกรวด
ลงที่ละเม็ด (เป็นคะแนน) เรื่อยไป ฝูงโคซึ่งอยู่กันอย่างลำบากใน
ที่แคบมาตลอด ๓ ยามราตรี เมื่ออกก็เบียดเสียดกันออกเป็นกลุ่ม ๆ
โดยเร็ว โคบาลนั้นก็นับเร็ว ๆ เหมือนกันว่า ๓.๔.๕----๑๐ (ฉันใด)
แม้เมื่ออาทิกัมมิกกุลบุตรนี้นับอยู่โดยนัยก่อน ลมอัสสาสะปัสสาสะ
ปรากฏแล้วเดินเร็วถี่ขึ้น ต่อนั้น เธอทราบว่าลมเดินถี่แล้วอย่าพึงถือ
เอาลมข้างในและข้างนอก ถือเอาแต่ที่มันมาถึงช่อง (จมูก) เท่านั้น
๑. ทำไมชาวสีหลจึงใช้ทะนาน (นาที) ตวงข้าวเปลือก และทำไมคนตวงข้าวจึงต้องร้องบอก
คะแนนเป็นคู่ว่า ๑. ๑, ๒, ๒ ไม่เข้าใจอีกแหละ จะเป็นร้อง ๒ คน คือคนตวงร้องก่อน แล้ว
คนรับเอาไปเทร้อยซ้ำกระมัง ?
๒. มหาฎีกาว่า นี่หมายถึงผู้ที่ลมอัสสาสะหรือปัสสาสะ ปรากฏแต่อย่างเดียว ลมอย่างใดปรากฏ
ก่อนก็นับลมนั้นไป แต่ผู้ใดลมปรากฏทั้ง ๒ คือทั้งออกทั้งเข้า ก็พึงนับทั้ง ๒
๓.
- มหาฎีกาว่า ปรากฏเพราะจิตส่ายไปภายนอกไม่ ด้วยอำนาจแห่งการนับหน่วงไว้