ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 224
กายานุปัสนาเป็นต้นเป็นตัวนำ จึงตรัส (ต่อไป) อีกว่า "ดูกรภิกษุ
เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นธรรมอันเธอเจริญทำให้มากอย่างนี้แล้ว เมื่อนั้น
เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า "เราจักเป็นผู้พิจารณาดูกายในกายอยู่” ดังนี้
เป็นต้นแล้ว จึงทรงยังภิกษุนั้นให้ถือเอา (พระธรรม) เทศนาด้วย
ยอดคือพระอรหัตว่า "ดูกรภิกษุ เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นอันเธอเจริญ
ทำให้เป็นดีแล้วอย่างนี้ เมื่อนั้น เธอจักเดินไปทางใด ๆ ก็ดี เธอ
ก็จักเดินเป็นผาสุกแท้ เธอจักยืนอยู่ ณ ที่ใด ๆ ก็ดี เธอก็จักยืนเป็น
ผาสุกเทียว เธอจักนั่ง ที่ใด
ณ
เธอจักสำเร็จการนอน ณ ที่ใด ๆ
ผาสุกแล" ดังนี้
ๆ ก็ดี เธอก็จักนั่งเป็นผาสุกทีเดียว
ก็ดี เธอก็จักสำเร็จการนอนเป็น
เพราะเหตุนั้น” อัปปมัญญา ๓ มีเมตตาเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบ
ว่า เป็นกฌานิกาหรือจตุกฌานิกา (คือเป็นไปในฌาน ๓ ข้างต้น
ในจตุกนัย หรือเป็นไปในฌาน ๔ ข้างต้นในปัญจกนัย) เท่านั้น
ส่วนอุเบกขา ก็พึงทราบว่า เป็นอวเสสเอกฌานิกา (เป็นไปในฌาน
เดียวที่เหลือ คือ จตุตถฌานในจตุกนัย หรือปัญจมฌานในปัญจก-
นัย) เท่านั้น และในอภิธรรม ท่านก็จำแนกไว้อย่างนั้นเหมือนกันและ
[อัปปมัญญามีอานุภาพแปลกกัน]
บัณฑิตพึงทราบว่า อัปปมัญญา ๔ นั่น แม้ตั้งไว้เป็น ๒ ส่วน
๑. คือ เพราะเหตุที่พระพุทธโอวาทให้บำเพ็ญสมาธิที่กล่าวตอนต้นนั้น ตรัสหมายเอาสมาธิ
ในอารมณ์อื่น มิใช่อารมณ์แห่งอัปปมัญญา
๒. มหาฎีกาว่า เช่นในอัปปมัญญาวิภังค์ ในจิตตุบาทกัณฑ์เป็นต้น