วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - กายคตาสติและการเจริญธรรม วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 26
หน้าที่ 26 / 266

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงการเจริญกายคตาสติในวิสุทธิมรรค แบ่งเป็น ๑๔ บรรพ อาทิ อานาปานบรรพ อิริยาบถบรรพ และจตุสัมปชัญญบรรพ ทั้งนี้ กายคตาสติช่วยให้ภิกษุเจริญการปฏิบัติธรรมเพื่อผลดีในชีวิต นอกจากนี้ยังมีการอธิบายสมาธิภาวนาในอสุภกรรมฐานด้วย การบรรยายเน้นถึงความสำคัญของการเข้าใจสภาวะร่างกายว่ามีความไม่เที่ยงและไม่งาม นำไปสู่วิปัสสนาและการเจริญปฏิบัติ แหล่งข้อมูลอาจพบได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

- กายคตาสติ
- อานาปานบรรพ
- อิริยาบถบรรพ
- สมาธิ
- ธรรมวินัย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - - หน้าที่ 26 ดังนี้เป็นต้นแล้ว ทรงนิเทศ (ขยายความ) ไว้โดย (จัดเป็น) ๑๔ บรรพ (ดัง) นี้คือ อานาปานบรรพ อิริยาบถบรรพ จตุสัมปชัญญ บรรพ ปฏิกูลมนสิการบรรพ ธาตุมนสิการบรรพ สิวัฏฐิกบรรพ 8 โดยนัยว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กายคตาสติบุคคลเจริญอย่างไร ทำ ให้มากอย่างไร จึงมีผลใหญ่มีอานิสงส์มาก ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี" ดังนี้เป็นอาทิ บัดนี้ นิเทศแห่งการเจริญ กายคตาสตินั้น ถึงแล้วโดยลำดับ [กายคตาสติที่ประสงค์ในที่นี้ ค ใน ๑๔ บรรพนั้น เพราะเหตุที่ ๓ บรรพนี้คือ อิริยาบถบรรพ จตุสัมปชัญญบรรพ ธาตุมนสิการบรรพ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดย เป็นวิปัสสนา" สิวัฏฐิกบรรพ ๕ ตรัสโดยเป็นอาทีนวานุปัสสนา" (คือ อาทีนวญาณ) ในวิปัสสนาญาณทั้งหลายนั้นแล อนึ่ง แม้สมาธิภาวนา ใด พึงสำเร็จได้ (คือนับเข้าได้ ?) ในอสุภกรรมฐานทั้งหลาย มี อุทธุมาตกอสุภเป็นต้น (อันมา) ในวัฏฐิกบรรพเหล่านั้น สมาธิ ภาวนานั้นก็เป็นอันแจ้งกแล้วในอสุภนิเทศ ส่วน ๒ บรรพนี้เท่านั้น คืออานาปานบรรพ และปฏิกูลมนสิการบรรพ ตรัสโดยเป็นสมาธิ ๑. ม. อุ. ๑๔/๒๐๔ ๒. มหาฎีกาช่วยอธิบายว่า ธาตุมนสิการกรรมฐาน ให้สำเร็จได้เพียงชั้นอุปจารสมาธิก็จริงแล แต่ทว่า สัมมสนวาร ในกรรมฐานนั้นมีกำลังยิ่งนัก (สาติสย) เพราะฉะนั้นจึงว่าธาตุมนสิการบรรพ ตรัสโดยเป็นวิปัสสนา ๓. เพราะนววัฏฐิกบรรพนั้นล้วนแต่แสดงโทษในร่างกาย พร้อมทั้งลักษณะมีความไม่งามและคาม ไม่เที่ยงเป็นต้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More