ข้อความต้นฉบับในหน้า
๑๐
အ
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 183
ก็เป็นอันภิกษุ (โยคาวจร) นั้นได้บรรลุแล้ว และครั้นได้บรรลุ
ปฐมฌานนั้นแล้ว เธอเสพยิ่งขึ้นไป เจริญทำให้มากขึ้นไปซึ่งนิมิต
นั่นแหละ ก็จะบรรลุทุตยฌานและตติยฌานในจตุกนัย และ (หรือ)
ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน ในปัญจกนัยตามลำดับ แท้
จริง พระโยคาวจรนั้นจะชื่อว่ามีใจสหรคตกับเมตตาแผ่ไปตลอดทิศ
หนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น
ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศขวาง ก็โดยนัยนั้นแล เธอมีใจสหรคต
กับเมตตา เป็นใจกว้างใหญ่ไม่มีประมาณ เป็นใจไม่มีเวร ไม่มีความ
บีบคั้น แผ่ไปในทิศทั้งปวงตลอดโลกที่มีสรรพสัตว์โดยความเป็นตน
(เสมอกัน) ในสัตว์ทั้งปวงอยู่ (ได้ดังนี้) ก็ด้วยอำนาจฌาน มี
ปฐมฌานเป็นต้น ฌานใดฌานหนึ่ง เพราะว่าวิภพพนา (การทำ
(เมตตา) ได้ต่างๆ) นี้ ย่อมสำเร็จแก่พระโยคาวจรผู้มีจิตถึงอัปปนา
ด้วยอำนาจฌาน มีปฐมฌานเป็นต้นเท่านั้น” (มิใช่สำเร็จ
อุปจาร)
าเร็จแก่ผู้ได้เพียง
๑. พรหมวิหาร ๒ ข้างต้นให้สำเร็จได้เพียง ๓ ฌาน ในจตุกนัย หรือ ๔ ฌานในปัญจกนัย
ไม่ถึงจตุตถฌาน หรือปัญจมฌาน เพราะจิตยังไม่เป็นอุเบกขา
က
๒. ปาฐะในฉบับวิสุทธิมรรคพิมพ์ครั้งที่ ๓ ว่า ปฐมฌานาทิวเสน...อย์ วิกุพฺพนา
อปปนา ปมปชชติ เห็นว่า บทอปปนานั้นเกิน เพราะไม่มีความจะจอด และในแก้อรรถ
กล่าวถึงความตอนนี้ (หน้า ๑๐๘ บรรทัดที่ 4 นับลง) ก็มีแต่วิกพพนา ไม่มีอปปนา คือ
ยถา จาย อัปปนา ปตฺตจิตฺตสฺเสว วิกุพฺพนา สมฺปชฺชติ วิกุพฺพนา มหาฎีกาแก้เป็น
วิวิธา กิริยา