วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - อานาปานสติกรรมฐาน วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 87
หน้าที่ 87 / 266

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้สำรวจเรื่องอานาปานสติกรรมฐานซึ่งเน้นการเจริญสมาธิที่เกี่ยวข้องกับลมหายใจ ทั้งนี้มีการอธิบายว่าการทำให้เกิดขึ้นของอานาปานสติสมาธิเป็นอย่างไร มีการถามพระพุทธเจ้าถึงวิธีการและประโยชน์จากการฝึกสมาธิในลักษณะนี้เพื่อให้สงบจิตใจ นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงความสำคัญของการปฏิบัติต่อความเข้าใจในพระธรรมและการบรรลุผลภายใน

หัวข้อประเด็น

-อานาปานสติกรรมฐาน
-การเจริญสมาธิ
-คำถามจากพระพุทธเจ้า
-การฝึกสมาธิ
-ปรัชญาแห่งความสงบ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - - หน้าที่ 87 จึงจะบริบูรณ์อาการทั้งปวง เพราะเหตุนั้น นิเทศในอานาปาน สติกรรมฐานนั้น (ต่อไป) นี้ จึงเป็นนิเทศยึดคำบาลีเป็นเบื้องหน้า [ขยายความบาลีคำถาม] บัณฑิตพึงทราบนิเทศ (ขยายความ) แห่งบาลีคำถามว่า "กถิ ภาวิโต จ ภิกฺขเว อานาปานสฺสติสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติสมาธิ บุคคลทำให้มีอย่างไร" เป็นต้นนี้ก่อน คำว่า 'ก' เป็นพระปุจฉาด้วยความเป็นผู้ทรงใคร่จะตรัสการเจริญอานาปานสติสมาธิ ให้พิสดาร โดยประการต่าง ๆ คำต่อไปว่า "ภาวิโต จ ภิกฺขเว อานา- ปานสติสมาธิ" เป็นคำทรงธรรมที่ได้ตรัสถามไว้ ด้วยความเป็นผู้ ทรงใคร่จะตรัสให้พิสดาร โดยประการต่าง ๆ แม้ในคำว่า 'ก พหุลี- กโต ฯเปฯ รูปสเมติ" นั้นก็นัยนี้เหมือนกัน ในบทเหล่านั้น บทว่า ภาวิโต-ทำให้มี นั้นคือ ทำให้เกิดขึ้น หรือเจริญขึ้น บทว่า อานาปานสติสมาธิ แปลว่า สมาธิที่ สัมปยุตกับสติ อันกำหนดเอาลมหายใจออกและลมหายใจเข้า (เป็น อารมณ์) นัยหนึ่ง สมาธิในอานาปานสติ ชื่อว่า อานาปานสติสมาธิ บทว่า พหุลีกโต-ทำให้มาก คือทำบ่อย ๆ [แก้ สนฺโต ปณีโต] สองบทว่า สนฺโต เจว ปณีโต จ นั้น พึงประกอบว่า สนฺโต จ เจว ปณีโต เจว-ละเมียดแท้ด้วย ประณีตแท้ด้วย พึงทราบว่า การ จำกัดความด้วยเอวศัพท์ ย่อมมีทั้ง มีทั้ง ๒ บท ถามว่า พระพุทธาธิบายมีอยู่
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More