วิสุทธิมรรค: การฝึกฝนขันติและเมตตา วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 152
หน้าที่ 152 / 266

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้อธิบายเกี่ยวกับการใช้ขันติเป็นกำลังเพื่อพัฒนาจิตใจและเมตตาภาวนาในการลดโทสะ เน้นว่าไม่ควรเจริญเมตตาในบุคคลที่มีความสัมพันธ์เชิงลบในสี่ประเภท โดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้น. การฝึกฝนขันติจะช่วยให้สามารถผูกจิตไว้ในความสงบและมีอานิสงส์ในชีวิต.

หัวข้อประเด็น

- การฝึกฝนขันติ
- เมตตาภาวนา
- การลดโทสะ
- บุคคลที่ไม่ควรเจริญเมตตา
- ความสำคัญของการพัฒนาจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 152 นิพพานเป็นบรมธรรม ขนฺติพล พลานี้ก็ ตนห์ พฺรูมิ พฺราหฺมณ์ เรากล่าวบุคคลนั้น ผู้มีขันติเป็นกำลัง มีกำลังคือขันติเป็นกอบทัพ ว่าเป็นพราหมณ์ ดังนี้เป็นต้นเถิด ขนฺตยา ภิยโย น วิชฺชติ ประโยชน์ยิ่งกว่าขันติหามีไม่ ครั้นแล้วจึงเริ่มเมตตาภาวนา เพื่อยังจิตให้สงัดจากโทสะอันมี โทษที่ตนเห็นแล้ว และเพื่อผูกจิตไว้ในขันติ อันมีอานิสงส์ที่ตนทราบ แล้วอย่างนี้ (ต่อไป) [บุคคลที่เป็นโทษแก่ภาวนา ๖] ก็แล เมื่อจะเริ่ม เบื้องต้นทีเดียว ควรทราบบุคคลโทส (บุคคล ที่เป็นโทษแก่ภาวนา) ว่า ในบุคคลเหล่านี้ไม่ควรเจริญเมตตาไปเป็น ปฐม ในบุคคลเหล่านี้ไม่ควรเจริญเมตตาไปเลยทีเดียว แท้จริงเมตตา นี้ไม่ควรเจริญเป็นปฐม ในบุคคล ๔ นี้ คือในบุคคลที่เกลียดกัน ใน บุคคลที่เป็นสหายรักกันมาก ในบุคคลที่เป็นกลาง ๆ กัน ในบุคคลที่ เป็นศัตรูกัน (ส่วน) ในบุคคลที่มีเพศเป็นข้าศึกกัน ไม่ควรเจริญโดย เจาะจง ในบุคคลที่ทำกาลกิริยาแล้ว ไม่ควรเจริญทีเดียว ถามว่า เพราเหตุไร จึงไม่ควรเจริญไปในบุคคล ๔ ประเภท มีบุคคลที่เกลียดกันเป็นต้นเป็นปฐม ? ๑. ขุ. ธ. ๒๕/๖๕ ๒. สํ. ส. ๑๕/๓๒๕
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More