วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 103
หน้าที่ 103 / 266

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการหายใจและการสำเหนียกของภิกษุในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการรับรู้ลมหายใจออกและหายใจเข้าด้วยจิตที่ประกอบด้วยญาณ แสดงถึงความสำคัญในการฝึกอานาปานสติและการกำหนดลมที่ชัดเจนในแต่ละช่วง ซึ่งเป็นการฝึกเพื่อการเข้าถึงญาณ และความสำรวมที่ต้องมีในวิถีปฏิบัติของภิกษุ เพื่อเป็นการเตรียมตัวเข้าสู่การบรรลุธรรม

หัวข้อประเด็น

-ลมหายใจ
-อานาปานสติ
-การสำเหนียก
-ความสำรวมในพระพุทธศาสนา
-การฝึกสมาธิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 103 (ลมหายใจ) ให้เป็นสิ่งที่เห็นชัดอย่างนั้น ก็ชื่อว่าเธอหายใจออกและ หายใจเข้าด้วยทั้งจิตอันประกอบด้วยญาณ เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า "เธอสำเหนียกว่า เราจัก----หายใจออก----หายใจเข้า" ดังนี้ จริงอยู่ สำหรับภิกษุลางรูป ต้นลมในกองลมหายใจออกก็ดี ใน กองลมหายใจเข้าก็ดี ที่แล่น (ออกเข้า) อยู่อย่างละเอียด (นั้น) ชัด (แต่) กลางลมและปลายลมไม่ชัด เธอก็อาจกำหนดถือเอาได้ แต่ต้นลม ยุ่งยากอยู่ในตอนกลางลมและปลายลม สำหรับลางรูป กลางลมชัด (แต่) ต้นและปลายไม่ชัด (เธอก็อาจกำหนดถือเอาได้ แต่กลางลม ยุ่งยากอยู่ในตอนต้นและปลาย) สำหรับลางรูป ปลาย ลมชัด (แต่) ต้นและกลางไม่ชัด เธอก็อาจกำหนดลือเอาได้แต่ปลาย ลม ยุ่งยากอยู่ในตอนต้นและกลาง สำหรับลางรูปชัดหมดทุกตอน เธอก็อาจกำหนดถือเอาได้หมด ไม่ยุ่งยากเลยสักตอน พระผู้มีพระภาค เจ้าจะทรงแสดงความว่า อันพระโยคาวจรควรเป็นเช่น (รูปที่ ๔) นั้น จึงตรัส (ข้อนี้) ว่า "ภิกษุสำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้รู้ตลอดกายทั้งหมด หายใจออก----หายใจเข้า" ดังนี้ ในบทเหล่านั้น บทว่า สำเหนียก คือเพียรพยายาม (ทำ มนสิการเพื่อรู้) อย่างนั้น อีกนัยหนึ่ง อรรถาธิบายในบทนี้ บัณฑิต พึงทราบอย่างนี้ว่า ความสำรวมแห่งภิกษุผู้เป็นอย่างนั้น (คือผู้เจริญ อานาปานสติ) อันใด ความสำรวมนี้จัดเป็นอธิสีสลสิกขาในที่นี้ ความ ความที่วงเล็บไว้นี้น่าจะมี เพราะต้นก็มีปลายก็มี แต่ปาฐะในฉบับวิสุทธิมรรคไม่มี จึงเดิม และวงเล็บไว้
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More