ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 222
ธรรมเทศนาอย่างนี้ว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ สาธุ ขอ
พระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยสังเขปเถิด
ข้าพระองค์ได้ฟังธรรมไรเล่า จึงพึงเป็นผู้หลีกออก (จากหมู่) ไป ไม่
ประมาท ทำความเพียรเด็ดเดี่ยวอยู่ผู้เดียว" ดังนี้ ว่า "ก็อย่างนี้แหละ
โมฆบุรุษบางพวกในโลกนี้เชิญเรา (ให้แสดงธรรม) เทียว แต่ครั้น
เราแสดงธรรมแล้วก็ยังสำคัญเห็นเราเป็นผู้ที่พวกเขาจะพึงติดตาม (รบ
กวน) อยู่นั่นเอง" ดังนี้ เพราะเหตุที่ภิกษุนั้นแม้ฟังธรรมครั้งก่อน
แล้วก็ยังอยู่ที่นั่นเอง ไม่ปรารถนาจะ (ไป) ทำสมณธรรม (แต่)
เพราะภิกษุนั้นถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งพระอรหัต เพราะฉะนั้น เมื่อ
จะทรงโอวาทเธอ จึงตรัสอีกว่า "ดูกรภิกษุ เพราะเหตุนั้น ในข้อนี้เธอ
พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า "จิตของเราจักเป็นจิตหยุดตั้งมั่นอยู่ภายใน และ
ธรรมทั้งหลายอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว จะต้องไม่ยึดจิตตั้งอยู่ ดูกร
ภิกษุเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล" ก็แลดูมูลสมาธิ (สมาธิขั้นมูล) อำนาจ
อันได้แก่อาการที่พอเป็นจิตเตกัคคตา” โดยอำนาจที่จิตหยุดอยู่ภายในตน
เป็นอันตรัสแก่ภิกษุนั้นด้วยพระโอวาทข้อนี้ ต่อนั้น เพื่อที่จะทรงแสดง
พระพุทธประสงค์ว่า ภิกษุนั้นไม่ควรถึงซึ่งความพอใจด้วยสมาธิเพียงเท่า
นั้นแล้วทำ (มูล) สมาธินั้นไ
สมาธินั้นให้เจริญดังต่อไปนี้ จึงตรัสการเจริญ (สมาธิ
ต่อไป) โดยทางเมตตา แก่ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า "ดูกรภิกษุ เมื่อใด
จิตของเธอเป็นจิตหยุดตั้งมั่นอยู่ในภายใน และธรรมทั้งหลายอันเป็น
๑. อง. อฏฐก. ๒๓/๓๐๘
๒. มหาฎีกาว่า ได้แก่ขณิกสมาธิ ที่เรียกว่า มูลสมาธิ ก็เพราะเป็นมูลแห่งสมาธิวิเสส
ต่อ ๆ ไป