การเจริญเมตตาและอาฆาตในพระพุทธศาสนา วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 165
หน้าที่ 165 / 266

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการเจริญเมตตา และการจัดการกับอาฆาตในพระพุทธศาสนา มีการอ้างอิงถึงอาฆาตปฏิวินัยสูตรในปัญจกนิบาต ซึ่งสอนให้เข้าใจว่าการอาฆาตมีแต่ทำให้ตนเองทุกข์ และการรักษาใจให้สงบเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม เมื่อเจอการทำทุกข์จากศัตรู ควรหันมามองที่ใจของตนให้ดี เพราะอาการโกรธจะส่งผลเสียในจิตใจของเราเองไม่ใช่คนอื่น สถาบันศาสนาจึงสอนให้เราเรียนรู้และเข้าใจวิธีการขจัดอาฆาตเพื่อความสงบสุขในชีวิต.

หัวข้อประเด็น

-การเจริญเมตตา
-การจัดการกับอาฆาต
-ผลกระทบของความโกรธ
-องค์ประกอบของวิสัย
-การสงบใจในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 164 ต้องการธรรมส่วนใด ๆ ของเขา ก็พึงระลึกเอาธรรมส่วนนั้น ๆ เถิด อนึ่ง เพื่อจะยังความข้อนี้ว่า "การเจริญเมตตา (นั้น) มิใช่เป็นการที่บุคคลทั้งหลายเช่นนั้นจะทำได้ยาก" ดังนี้ ให้กระจ่าง อาฆาตปฏิวินัยสูตร ในปัญจกนิบาต (ดัง) นี้ว่า "ดูกรอาวุโส อาฆาตปฏิวินัย ๕ นี้ ซึ่งเป็นที่ ๆ ความอาฆาตอันเกิดขึ้นแก่ภิกษุแล้ว พึงถูกขจัดเสียได้ โดยประการทั้งปวง" ดังนี้เป็นต้น บัณฑิตพึง ๕ (นำมากล่าว) ให้พิสดารเถิด [สอนตนนัยที่ ๒ - โกรธคือทำทุกข์ให้ตนเอง] แต่ถ้าเมื่อพระโยคาวจรนั้นพยายามอยู่ถึงอย่างนั้น ความอาฆาต ก็ยังเกิดขึ้นอยู่นั่นไซร้ ทีนี้เธอจึงโอวาทตนดังนี้ว่า "(๑) ถ้าศัตรูทำทุกข์ให้แก่เจ้าใจสิ่งอันเป็นวิสัย (คือกาย) ของตนไซร้ ไฉนเจ้าจึงปรารถนาจะทำ ทุกข์ไว้ในใจของตัว ซึ่งมิใช่วิสัย (คือไม่ใช่กาย) ของเขาเล่า (๒) ตัวเจ้า (เมื่อออกบวช) ยังละ (มารดาบิดา) ผู้มีอุปการคุณมาก (และ) หมู่ญาติผู้ร้องให้น้ำตา ๑. องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๒๐๓ ๒. ท่อนหลังนี้อธิบายว่า "โกรธแล้วคิดอาฆาตจะทำทุกข์ให้เขา ท่านั้นท่านี้ให้กลุ้มไป แต่เขาไม่รู้ และไม่ทุกข์สักหน่อย ที่แท้ก็ทำทุกข์ไว้ในใจตัว คือว่าทำทุกข์ให้ตัวนั่นเอง" เช่นนี้กระมัง วิสัย นั้นมหาฎีกาแก้ว่า กาย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More