ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ -
- หน้าที่ 49
ตัดตอนด้วยพื้นรากของตนอัน (หยั่ง) เข้าไปในหนังหุ้มสรีระประมาณ
ลิขา ๑ ตั้งอยู่ เบื้องบนตัดตอนด้วยอากาศ เบื้องขวางตัดตอนด้วย
เส้นขนด้วยกัน การกำหนดตัดโดยนัยว่า "ขน ๒ เส้นไม่มีรวมเป็น
เส้นเดียว (คือเส้นใครเส้นมัน) นี้เป็น (สภาคบริเฉท) ตัดตอน
ด้วยส่วนของคนแห่งขนเหล่านั้น ส่วน (วิสภาคบริเฉท) ตัดตอน
ด้วยส่วนที่ผิดกับตนก็ เป็นเช่นเดียวกับ (การกำหนด) ผมนั่นแล
[เล็บ]
คำว่า นขา - เล็บทั้งหลาย เป็นชื่อแห่งใบเล็บ ๒๐ อัน" เล็บ
ทั้งปวงนั้น โดยสี เป็นสีขาว โดยสัณฐาน มีสัณฐานดังเกล็ดปลา
โดยทิศ เกิดในทิศทั้ง ๒ คือ เล็บเท้า เกิดในทิศเบื้องล่าง เล็บมือ
เกิดในทิศเบื้องบน โดยโอกาส ตั้งอยู่หลังปลายนิ้วทั้งหลาย โดย
ตัดตอน ในทิศทั้ง ๒ (คือ ล่าง บน) กำหนดตัดด้วยเนื้อปลายนิ้ว
ข้างใน กำหนดตัดด้วยเนื้อหลังนิ้ว ข้างนอกและปลาย กำหนดตัด
ด้วยอากาศ ด้านขวาง กำหนตัดด้วยเล็บด้วยกัน การกำหนดตัด
โดยนัยว่า "เล็บ ๒ ใบไม่มีรวมอยู่ด้วยกัน" นี้เป็น (สภาคบริเฉท)
ตัดตอนด้วยส่วนของตนแห่งเล็บเหล่านั้น ส่วน (วิสภาคบริเฉท)
๑. ลิขา เข้าใจว่าเป็นมาตราวัดความยาว ซึ่งกล่าวไว้ในอภิธานัปปทีปิกา ดังนี้ ๓๖ ปรมาณูเป็น
อณู, ๓๖ อณูเป็นตัชชารี, ๓๖ ตัชชารีเป็นรถเรณู, ๓๖ รถเรณูเป็นสิกขา, ๒ ลิกขาเป็น
อูกา, ๒ อูกาเป็นธัญญมาส (เมล็ดข้าวเปลือก), ๒ ธัญญมาสเป็นอังคุละ (นิ้ว),
๑๒ อังคุละเป็นวิทัตถ์ (คืบ), ๒ วิทัตถ์เป็นรัตนะ (ศอก) ฯลฯ
ได้ยินแปลกันว่าไข่เหาบ้าง ปลายเหล็กจารบ้างก็มี
๒. มหาฎีกาว่า ใบเล็บก็นั่นแหละ เรียกว่าใบเล็บ เพราะมันคล้ายใบไม้