ความตายและพระโยคาวจรในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 14
หน้าที่ 14 / 266

สรุปเนื้อหา

เอกสารนี้พูดถึงแนวคิดเกี่ยวกับความตายในมุมมองของพระโยคาวจร โดยเน้นการเปรียบเทียบกับผู้ที่มีอำนาจและยศที่มีความเสมอกันในเรื่องความตาย อธิบายถึงว่าความตายไม่เลือกปฏิบัติแม้แต่พระอรหันต์ หรือผู้มีอำนาจในโลก อ้างอิงถึงการสูญหายไปของชีวิตและการตระหนักถึงความตายนี้ซึ่งยังคงเป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติธรรมและกรรมฐาน ที่จะช่วยให้เกิดการระลึกถึงความตายเพื่อให้มีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติธรรมเพื่อการหลุดพ้นจากวัฏสงสาร.

หัวข้อประเด็น

- ความตายในวิสุทธิมรรค
- พระโยคาวจรและการเปรียบเทียบ
- อำนาจและการตระหนักรู้
- การปฏิบัติธรรมเพื่อหลุดพ้น
- ความสำคัญของกรรมฐาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 14 ใครเสมอ หาผู้เปรียบมิได้ หาคนเทียบมิได้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ เองโดยชอบ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นก็ยังทรงรำงับ (ดับขันธ์) ไปโดยพลัน” ด้วยหยาดฝนมรณะ ดุจกอบไฟใหญ่มอดไปด้วยหยาดฝน น้ำฉะนั้น อันความตายนั้นใด (มัน) แผ่อำนาจมาถึงองค์ พระมหาฤษีเจ้าผู้ทรงอานุภาพใหญ่อย่างนี้ได้ โดยไม่กลัวโดยไม่อาย ไฉนเจ้าความตายนี้นั้น ซึ่งไร้ความอายปราศจากความกลัว มุ่งแต่จะ ย่ำยีสัตว์ทุกถ้วนหน้า จักไม่ (มา) ครอบงำ เอาสัตว์เช่นเราเข้าเล่า เมื่อพระโยคาวจรนั้น เปรียบเทียบตนกับคนอื่น ๆ ผู้ถึงพร้อม ด้วยความใหญ่มีความเป็นผู้มียศใหญ่เป็นต้น โดยภาวะ คือความมี มรณะเสมอกันอย่างนี้แล้ว ระลึกไปว่า "ความตายจะต้องมีแต่เราบ้าง ดุจมีแก่สัตว์วิเศษทั้งหลายเหล่านั้น" ดังนี้ กรรมฐานจะถึงอุปจารแล พระโยคาวจรพึงระลึกถึงความตายโดยเปรียบเทียบ ด้วยประการฉะนี้ ๑. ฐานโส มหาฎีกาแก้เป็น ติเณเยว แม้ในวิสุทธิมรรคภาค ๒ นี้ หน้า ๔๕ ศัพท์ฐานโส อนุตรธาเปติ ท่านก็ไขไว้ว่า ขณเนว อนุตรธาเปติ ทำให้นึกไปถึง ฐานโส ในคำอนุโมทนา ทักษิณานุปทาน คืน ทีฆรตต์ หิตายสฺส ฐานโส อุปกปปติ ซึ่งแปลทับศัพท์กันว่า "โดยฐานะ' ไม่เข้าใจมานานแล้วนั้น ก็น่าจะแปลว่า "โดยพลัน โดยทันที" แบบเดียวกันนี่เอง เป็นอัน พ้นแก่งไปที ๒. ปาฐะ มรณวสมาคต์ ตัดบทว่า มรณวส์ อาคติ ถ้าแปลว่า "มาสู่อำนาจความตาย" ก็ต้อง หากัตตาว่า ใครมา ซึ่งในคาถานั้นไม่มีศัพท์ที่จะเป็นกัตตาได้ ถ้าแปลว่า "อำนาจความตายมา-
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More