การละความโกรธในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 166
หน้าที่ 166 / 266

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้วิเคราะห์การละความโกรธซึ่งถือเป็นศัตรูที่ทำลายศีลธรรม ผู้เขียนตั้งคำถามว่า ทำไมเราจึงต้องให้ความโกรธมีอิทธิพลในชีวิต และทบทวนว่าการโกรธนั้นจะทำให้เราและผู้อื่นต้องทุกข์ไปด้วยกัน โดยชี้ให้เห็นถึงกระบวนการทางจิตใจในการจัดการกับอารมณ์ เพื่อไม่ให้ความโกรธทำลายชีวิตเรา นอกจากนี้ยังอธิบายศัพท์ที่เกี่ยวข้องและบทกวีที่สอดแทรกเข้าไปในข้อความเพื่อสะท้อนความดุร้ายของความโกรธ

หัวข้อประเด็น

-การจัดการกับอารมณ์โกรธ
-ผลกระทบของความโกรธ
-ศีลธรรมและความสงบจิต
-การเรียนรู้จากวิสุทธิมรรค
-ความหมายของคำศัพท์ในบริบททางจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 165 นองหน้า (ออกมาได้) แล้วทำไมจึงละความโกรธ อันเป็นศัตรูทำความฉิบหายใหญ่ให้เสียไม่ได้เล่า (๓) เจ้าไปพะนอความโกรธ อันเป็นตัวตัดมูลราก ของศีลทั้งหลายที่เจ้ารักษาเสีย ขอถามหน่อย ใคร โง่เหมือนเจ้าบ้างเล่า (๔) เจ้าโกรธว่า คนอื่นทำกรรมป่าเถื่อนให้ อย่าง ไรหนอ เจ้าจึงปรารถนาจะทำกรรมเช่นเดียวกัน นั้นเสียเองเล่า (๕) ถ้าคนอื่น อยากให้เจ้าโกรธ จึงทำความไม่ พอใจให้ ไฉนเจ้าจึงจะช่วยทำมโนรถของเขาให้ สำเร็จ โดย (ปล่อย) ให้ความโกรธเกิดขึ้นเล่านั่น (๖) อนึ่ง น่าตำหนิ เจ้าโกรธแล้วจักได้ทำทุกข์ ให้แก่เขาหรือหาไม่ก็ตาม แต่เดี๋ยวนี้เจ้าก็ได้เบียด เบียนตนเอง ด้วยโกธทุกข์ (ความทุกข์ใจพระ โกรธ) อยู่แท้ ๆ (๒) อนึ่ง ถ้า (เห็นว่า) พวกศัตรูขึ้น (คือเดินไป) สู่ทางอำมหิต คือความโกรธแล้วไซร้ เหตุไฉน คำนี้เข้าใจว่ามาจากศัพท์ อหิต นี่เอง ความหมายก็ไปกันได้ คือดุร้าย เดิมก็จะเพียงแผลง อะเป็นอ๋ เป็น อ๋หิต เช่นเดียวกับอนรรฆ เป็น อำนรรฆ อนนต์ เป็น อำนนต์ อมาตย์ เป็น อ๋ามาตย์ นานมาจึงแถม ม เข้าไปให้เข้าแถวกับ อำมฤต อำมรินทร์ ตามคล่องปาก และได้สัมผัส ในบทกลอน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More