วิสุทธิมรรค ภาค ๒ ตอน ๑ - การปฏิบัติเพื่อประโยชน์และการบำบัดทุกข์ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 219
หน้าที่ 219 / 266

สรุปเนื้อหา

ในเนื้อหานี้พูดถึงการช่วยเหลือสัตว์ทั้งสี่ประเภทด้วยความเมตตาและกรุณา อุปมาเปรียบเทียบกับมารดาที่ปรารถนาความเจริญของบุตรแต่ละคน การปฏิบัติในทางเลือกที่เป็นประโยชน์ ให้กำลังใจและบำบัดทุกข์เป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรทำ เพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตและความสุขในชีวิต สิ่งที่กล่าวถึงคือการมีอัปปมัญญาในธรรม การพัฒนาอาการคิดเพื่อเกื้อกูลและบำบัดทุกข์เพื่อประโยชน์ของสัตว์ทุกชนิด

หัวข้อประเด็น

-การช่วยเหลือสัตว์
-เมตตาและกรุณา
-อัปปมัญญา
-บำบัดทุกข์
-การเจริญเติบโต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 218 ไปในสัตว์ทั้งหลาย ก็มีอยู่ ๔ ทางเท่านั้น โดยเป็นอาการ (คิด) หาประโยชน์ให้ (คิด) บำบัดสิ่งที่มิใช่ประโยชน์ ยินดีในความได้ดี และความไม่คิดคำนึงถึง (คือเพิกเฉย) อนึ่ง เพราะอุปมาเหมือน มารดา ในบุตร ๔ คน ที่ (คน ๑) เป็นเด็กเล็ก (คน ๑) ป่วย (คน ๑) เป็นหนุ่ม และ (คน ๑ ออกเรือนไป) ประกอบการงาน ส่วนตัว ย่อมเป็นผู้ปรารถนาความเจริญเติบโต เพื่อบุตรคนเล็ก ปรารถนาบำบัดไข้เพื่อบุตรที่ป่วย ปรารถนาความยั่งยืนแห่งสมบัติ ความเป็นหนุ่ม เพื่อบุตรที่เป็นหนุ่ม ไม่ขวนขวายไม่ว่าในทางไร ๆ เพื่อบุตรที่ (ออกเรือนไป) ประกอบการงานส่วนตัวแล้ว ฉันใด แม้ พระโยคาวจรก็พึงเป็นผู้มีอัปปมัญญาเป็นวิหารธรรม ด้วยอำนาจเจริญ ธรรม ๔ มีเมตตาในสัตว์ปวงเป็นอาทิ ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น อัปปมัญญา ก็เป็น ๔ เพราะอำนาจแห่งกิจมีความเป็นทางแห่งวิสุทธิ เป็นต้นนี้เหมือนกัน อนึ่ง เพราะเหตุที่พระโยคาวจรผู้ใคร่จะเจริญอัปปมัญญานั่น (ครบ) ทั้ง ๔ ทีแรกพึงปฏิบัติในสัตว์ทั้งหมด โดยยังอาหาร (คิด) เกื้อกูลให้เป็นไป ภาวนาอันมีความเป็นไปแห่งอาการ (คิด) เกื้อกูล เป็นลักษณะนั้นเองเป็นเตตา แต่นั้นได้พบก็ดี ได้ยินก็ดี ใคร่ครวญเห็น ก็ดี ซึ่งความที่สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนาแต่ประโยชน์เกื้อกลอย่างนี้แล้วยัง ถูกทุกข์ครอบงำ พึงปฏิบัติโดยยังอาการ (คิด) บำบัดทุกข์ให้เป็นไป ภาวนาอันมีความเป็นไปแห่งอาการ (คิด) บำบัดทุกข์เป็นลักษณะ นั้นเองเป็นกรุณา ทีนี้ ได้เห็นความได้ดีแห่งสัตว์เหล่านั้นผู้ปรารถนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More