ภูริทัตตชาดกและจับเปยยชาดก วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 175
หน้าที่ 175 / 266

สรุปเนื้อหา

ในภูริทัตตชาดก พระโพธิสัตว์เป็นนาคราชชื่อภูริทัต ซึ่งมีการยืนยันถึงธรรมะและศีล โดยไม่แสดงอาการโกรธแม้ถูกทำร้ายหรือถูกเบียดเบียน ในจับเปยยชาดก พระโพธิสัตว์ในรูปของนาคราชชื่อจับเปยยะ ก็มีการประพฤติตนตามธรรม และไม่คิดร้ายต่อผู้ทำร้ายตน ในทั้งสองเรื่องสะท้อนถึงความอดทนและการไม่ตอบโต้อย่างเข้าใจธรรมะของพระโพธิสัตว์ การไม่ให้ความคิดร้ายเกิดขึ้นในใจ

หัวข้อประเด็น

-ภูริทัตตชาดก
-จับเปยยชาดก
-พระโพธิสัตว์
-หลักธรรม
-การอดทน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 174 [ภูริทัตตชาดก] (ในภูริทัตตชาดก) พระโพธิสัตว์เป็นนาคราช ชื่อภูริทัต อธิษฐาน องค์อุโบสถแล้วนอน (ขด) อยู่บนยอดจอมปลวก แม้เมื่อถูกพราหมณ์ อาลัมพานใช้ยาอัน (ร้อน) เช่นดังไฟประลัยกัลป์ ราดเอาตลอดตัว (จับ) ใส่หีบ (นำไป) ให้เล่น (ระบำงู) ไปจนทั่วชมพูทวีป ก็มิได้ทำ วิการ แม้ความคิดร้ายในพราหมณ์นั้น ดังท่านเองกล่าว่า "แม้เมื่ออาลัมพาน (จับเรา) ใส่กระสอบ และแม้ อาลัมพานกระทืบ (เรา) ด้วยซ่นเท้า เราก็มิได้ โกรธอาลัมพาน· เพราะกลัวศีลของเราขาด" [จับเปยยชาดก] แม้ (ครั้ง) เป็นนาคราช ชื่อ จับเปยยะ ถูกหมองงูเบียดเบียนเอา ก็มิได้ยังวิการแม้แต่เพียงความคิดร้ายให้เ ร้ายให้เกิดขึ้น ดังท่านกล่าวว่า "หมองงูจับเราผู้ประพฤติธรรม จำศีลอุโบสถอยู่ (นำไปให้) เล่น (ระบำงู) ที่ประตูวัง เมื่อครั้ง นั้น เขาคิด (ให้ตัวเราเป็น) สีใด เขียว เหลือง หรือแดง" ก็ดี เราเมื่อตามใจเขา ก็เปล่งรัศมี (ให้ เป็นสี) ที่เขาคิด เรา (มีอานุภาพป จะพึงทำที่ ๑. บางแห่งเป็นอลัมพายน ซึ่งนักเทศน์ของเราออกเสียงเป็นไทยว่า "อาลำพาย ๒. ปีตญฺจ นั้น มหาฎีกาลิขิตไว้เป็น ปีตัว และว่า ว นั้นคือ วา เป็นไปใน อวุตตาถวิกัป สงเคราะห์เอาสี่ที่มิได้กล่าวในคาถาเข้าด้วย เช่น สีขาว สีฝาง เป็นต้น เห็นว่า ปาฐะในมหาฎีกาเข้าทีกว่า จึงแก้และแปลตามนั้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More