วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - การเจริญสมาธิและอัปปมัญญา วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 222
หน้าที่ 222 / 266

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้กล่าวถึงการเจริญสมาธิจากหลักการของอัปปมัญญาทั้ง 4 ซึ่งรวมถึงการมีวิตกและวิจาร และการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับสุขและอุเบกขา นอกจากนี้ยังมีการติชมการพูดที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสมาธิและการเข้าใจพระพุทธวจนะอย่างลึกซึ้ง โดยมุ่งเสนอให้เข้าใจแนวทางตามคำอาจารย์เพื่อให้แน่ใจว่าได้รับความหมายที่ถูกต้อง.

หัวข้อประเด็น

- การเจริญสมาธิ
- อัปปมัญญาทั้ง 4
- ฌานและความสำคัญ
- ความเข้าใจในพระพุทธวจนะ
- การปฏิบัติจิตวิทยา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - - หน้าที่ 221 ไว้ในอัฏฐกนิบาต (อังคุตรนิกาย) โดยความไม่แปลกกันในอัปปมัญญา ทั้ง ๔ ว่า "ดูกรภิกษุ เมื่อนั้นเธอพึงเจริญสมาธินี้อันมีทั้งวิตกทั้งวิจาร บ้าง พึงเจริญสมาธินี้อันไม่มีวิตกมีแต่วิจารบ้าง พึงเจริญสมาธินี้อันไม่มี วิตกไม่มีวิจารบ้าง พึงเจริญสมาธินี้ อันมีปีติบ้าง จึงเจริญสมาธินี้อันไม่มี ปีติบ้าง จึงเจริญสมาธินี้ อันประกอบไปด้วยความสำราญ (คือสุข) บ้าง พึงเจริญสมาธินี้ อันประกอบไปด้วยอุเบกขาบ้าง" ดังนี้ เพราะเหตุ นั้นอัปปมัญญาทั้ง 4 ก็เป็นจตุกฌานิกา (เป็นไปในฌานทั้ง ๔ ใน จตุกนัย) หรือเป็นปัญจกฌานิกา (เป็นไปในฌานทั้ง ๕ ในปัญจกนัย เท่า ๆ กัน) บุคคลนั้น เป็นผู้อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวว่า "ท่านอย่าพูด อย่างนั้น เพราะเมื่อเป็นเช่นนั้น แม้ภาวนาทั้งหลายมีกายานุปัสนา เป็นต้น ก็จะพึงเป็นจตุกฌานิกาหรือปัญจกฌานิกา (ด้วยละซิ) และในภาวนามีเวทนานุปัสนาเป็นอาทิ แม้แต่ปฐมฌานก็ไม่มี จะ กล่าวอะไรถึงทุติยฌานเป็นต้นเล่า เพราะเหตุนั้นท่านอย่าได้ถือเอาแต่ เพียงเงา (ของสมาธิ) ตามพยัญชนะแล้วกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าเลย อันพระพุทธวจนะเป็นคำลึกซึ้ง พระพุทธวจนะนั้นท่านควรเข้าไปหา อาจารย์ (ตามอาจารย์ให้อธิบายแล้ว) ถือเอาโดยความหมาย ก็แล ความ (ต่อไป) นี้ เป็นความหมายในพระพุทธจนะนั้น "นัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตำหนิภิกษุ (รูปหนึ่ง) ผู้ซึ่งกราบทูลขอพระ ๑. อง. อฏฺฐก. ๒๓/๑๑๐ ๒. ซึ่งความจริงไม่เป็น เพราะกายานุปัสนาเป็นต้นนั้น ตรัสเป็นทางวิปัสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More