ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 232
ก็ดี บุรุษคล้ายศัตรูก็ดี ในที่ ๆ (วิ่ง) หนีไปก็ดี ในหมู่บ้านอื่นก็ดี
แล้วหวาดกลัว และไม่อยากมองฉะนั้น
อนึ่ง แม้อุปมา (อื่นอีก) มีอุปมาด้วยสุนัขที่ถูกสุกร (ป่า)
ขวิด และคนกลัวผีเป็นต้น ก็ควร (นำมา) กล่าว ในความข้อนี้ได้
พระโยคาวจรนั้น หน่ายจากกสิณรูปอันเป็นอารมณ์ของจตุตถ
ฌานนั้นอย่างนี้แล้ว เป็นผู้ใคร่จะหลีกหนีไป จึงบำเพ็ญความเป็นวสี
ด้วยอาการ ๕ ได้แล้ว ออกจากรูปาวจรจตุตถฌานอันคล่องแคล่วแล้ว
เห็นโทษในฌานนั้นว่า "ฌานนี้ทำ (กสิณ) รูปที่เราหน่ายแล้วให้
เป็นอารมณ์" บ้าง ว่า "ฌานนี้มีข้าศึกคือโสมนัสอยู่ใกล้" บ้าง ว่า
"ฌานนี้หยาบว่าสันตวิโมกข์ (วิโมกข์อันละเอียด คืออรูปฌาน)"
บ้าง
ก็ความมีองค์หยาบ หามีในอรูปานนั้นไม่ เพราะแม้อรูปฌาน
ทั้งหลาย ก็มีองค์สอง ดุจรูปาวจรจตุตถฌานนั้นซึ่งมีองค์สองนั่นเอง
แล (คืออุเบกขา กับ เอกัคคตา)
[เพิกกสิณ]
พระโยคาวจรนั้น ครั้นเห็นโทษในรูปาวจรจตุตถฌานนั้นอย่างนี้
แล้ว ตัดความไยดี (ในฌานนั้น) เสีย ทำในใจซึ่งอากาสานัญจายตนะ
โดย (ว่า) เป็นธรรมละเอียด แผ่กสิณไปจนตลอดเขตจักรวาล หรือ
มหาฎีกาช่วยเล่าขยายความว่า สุนัขตัวหนึ่งพอถูกสุกรในป่าขวิดเอาก็วิ่งหนี ขณะที่วิ่งหนี
ไปเห็นหม้อข้าวผาด ๆ สำคัญว่าสุกรก็กลัว วิ่งหนีต่อไป
คนกลัวผี ในเวลากลางคืนเดินไปในที่ ๆ ไม่คุ้น เห็นต้นตาลยอดด้วนเข้า สำคัญว่าผี
ก็กลัวจนสิ้นสติ