วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 หน้า 214
หน้าที่ 214 / 266

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้กล่าวถึงการวิเคราะห์ความหมายของกรุณาและมุทิตาในอุดมคติของพระพุทธศาสนา โดยระบุว่า สิ่งที่จะเป็นข้าศึกต่อการเจริญกรุณาคือวิเหสา และเคหสิตโสมนัสนั้นมีอิทธิพลต่อมุทิตาในทางบวก โดยสอนให้ละอองอารมณ์อันไม่ดีใจไปทั้งหมด ความสำคัญของการเจริญมุทิตาเพื่อละความอยากและพัฒนาใจในความดีของผู้อื่น แต่ยังมีบั่นทอนเมื่อมีความสุขเกี่ยวกับความดีของตนเอง กล่าวถึงอธิกุศลธรรมซึ่งได้แก่สมถะวิปัสนา ที่ช่วยให้บุคคลสามารถเจริญบุญกุศลได้ดียิ่งขึ้น ขอให้ผู้ศึกษาเจริญมุทิตาและกรุณาต่อกันเพื่อพัฒนาจิตใจ

หัวข้อประเด็น

-การเจริญกรุณา
-การเจริญมุทิตา
-โสมนัส
-ธรรมะในพระพุทธศาสนา
-อารมณ์และความรู้สึก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 213 เสีย) (ส่วน) วิเหสา เป็นข้าศึกไกล (ของกรุณา) เพราะมี (สภาพ) ส่วนที่เป็นของต ปั่นของตนไม่เหมือนกัน เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรจึงไม่ต้อง กลัวแต่วิเหสานั้น เจริญกรุณาไปเถิด อันข้อที่ว่าบุคคลจักทำความ กรุณาด้วย จักเบียดเบียน (สัตว์) ด้วยเครื่องประหารมีฝ่ามือเป็นต้น ด้วย นั่นเป็นอฐานะ (คือเป็นไปไม่ได้) เคหสิตโสมนัสอันมา (ในบาลี) โดยนัยว่า "เมื่อบุคคลเห็น ความได้ซึ่งรูปทั้งหลายที่พึงรู้ทางจักษุ อันน่าปรารถนาน่าใคร่น่าเจริญ ใจน่ารื่นรมย์ใจ ประกอบไปด้วยโลกามิส โดยความ (ดีใจว่า) ได้ก็ดี เมื่อระลึกถึงรูปารมณ์เห็นปานนั้น ที่เคยได้มาก่อน ที่ล่วงไปแล้ว ที่ดับไปแล้ว ที่แปรไปแล้วก็ดี โสมนัสเกิดขึ้น โสมนัสใดมีรูปอย่างนี้ โสมนัสนั้น เรียกว่าเคหสิตโสมนัส (ความดีใจอิงกามคุณ)" ดังนี้ เป็นต้น เป็นข้าศึกใกล้ของมุทิตาพรหมวิหาร เพราะมุทิตากับเคหสิต- โสมนัสมีส่วนเสมอกัน โดยมองดูแต่สมบัติ (คือส่วนได้) ส่วน อรติเป็นข้าศึกไกล (ของมุทิตา) เพราะมี (สภาพ) ส่วนที่เป็น ของตนไม่เหมือนกัน เพระเหตุนั้น พระโยคาวจรจึงไม่ต้องกลัวแต่ อรตินั้น เจริญมุทิตาไปเถิด อันข้อที่ว่า บุคคลจักเป็นผู้บันเทิงใจ (ในความได้ดีของผู้อื่น) ด้วยจักหน่ายในเสนาสนะสงัดหรือในอธิกุศล ธรรมทั้งหลาย ด้วย นั่นเป็นอฐานะ (คือเป็นไปได้) ๑. ม. อุ. ๑๔/๔๐๓ ๒. มหาฎีกาว่า อธิกุศลธรรม ได้แก่สมถะวิปัสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More