ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 95
อานาปานสติอนุกูลแก่ฤดูทั้ง ๓ และอนุกูแก่ธาตุและจริยาด้วย อย่างนี้
แล้ว" จงทรงชี้อิริยาบถอันสงบ ไม่เป็นไปข้างหูและไม่เป็นข้างฟุ้ง
แก่พระโยคาวจรภิกษุนั้น (ต่อไป) จึงตรัสคำว่า "นั่ง" ต่อนั้น
เมื่อจะทรงแสดงความมั่นคงแห่งการนั่ง ความเป็นไปสะดวกแห่งลม
หายใจออกเข้า และอุบายในการกำหนดถือเอาอารมณ์ด้วย” จึงตรัส
คำว่า 'คู้บัลลังก์' เป็นอาทิ
ในบทเหล่านั้น บทว่า บัลลังก์ ได้แก่นั่งคู่เขาเข้าโดยรอบ
บทว่า คู้ คือขดเข้า คำว่า ตั้งกายตรง คือตั้งสรีระส่วนบทให้ตรง
ให้ปลายกับปลายกระดูกสันหลัง ๑๘ ข้อจดกัน เพราะเมื่อพระโยคาวจร
นั่งอย่างนี้ หนังเนื้อและเอ็นย่อมไม่ขด เมื่อเป็นอย่างนั้น เวทนา
เหล่าใดจะพึงเกิดขึ้นในขณะ ๆ เพราะความขัดแห่งหนังเนื้อและเอ็นนั้น
เป็นปัจจัย เวทนาเหล่านั้นก็จะไม่เกิดขึ้นแก่เธอ ครั้นเวทนาเหล่านั้น
ไม่เกิดขึ้น จิตก็จะมีอารมณ์เป็นหนึ่ง กรรมฐานไม่ตก เข้าถึงความ
๑. มหาฎีกาช่วยขยายความว่า อนุกูลแก่ฤดู คือป่าอนุกูลในฤดูร้อน รุกขมูลอนุกูลในฤดูหนาว
สุญญาคารอนุกูลในฤดูฝน (นี่แสดงว่า สุญญาคาร เป็นเรือนมีเครื่องมุงบังกันฝนได้)
อนุกูลแก่ธาตุ คือป่าอนุกูลแก่คนเสมหธาตุ (มีเสมหะมาก ?) รุกขมูลอนุกูลแก่คนปิตตธาตุ
(ตีพิการ อาหารไม่ค่อยย่อย ?) สัญญาคารอนุกูลแก่คนวาตธาตุ (มักเป็นลมวิงเวียน ?)
อนุกูลแก่จริยา คือป่าอนุกูลแก่คนโมหจริต รุกขมูลอนุกูลแก่คนโทสตริต สุญญาคารอนุกูล
แก่คนราคจริต
๒. มหาฎีกาช่วยอธิบายว่า อิริยาบถนอนไปข้างโกสัชชะ ยืนและเดินไปข้างอุทธัจจะ ส่วน
อิริยาบถนั่งหาเป็นอย่างนั้นไม่ เพราะฉะนั้น ท่านจึงว่าเป็นอิริยาบถสงบ
๓. มหาฎีกาช่วยไขความว่า ทรงแสดงความมั่นคงแห่งการนั่งด้วยการคู่บัลลังก์ ทรงแสดงความเป็น
ไปสะดอกแห่งลมหายใจ ด้วยการตั้งกายส่วนบนนั้นให้ตรง ทรงแสดงอุบายในการกำหนดถือเอา
อารมณ์ด้วยการดำรงสติไว้เฉพาะหน้า