ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 246
คำ อนนต์ วิญญาณ์ มีอธิบายว่า มนสิการเอาความรู้สึกที่
เป็นไปแผ่อยู่ทั่วอากาศ (นิมิต) นั้น อย่างนี้ว่า "อนนฺโต อากาโส-
อากาศเป็นอนันตะ" ดังนั้นนั่นแหละมาว่า "อนนต์ วิญญาณ
วิญญาณเป็นอนันตะ" ดังนี้ อีกนัยหนึ่ง วิญญาณนั้นเป็นอนันตะ
ด้วยอำนาจมนสิการ จริงอยู่ พระโยคาวจรนั้น เมื่อมนสิการถึงวิญญาณ
ซึ่งมีอากาศเป็นที่ยึดหน่วงอยู่นั้นโดยไม่มีส่วนเหลือ ก็เท่ากับมนสิการว่า
(วิญญาณ) ไม่มีที่สุด แม้คำใดที่กล่าวในวิภังค์ว่า "อนนต์ วิญญา
ณนฺติ ตญฺเญว อากาส์ วิญญาเณน ฯเปฯ เตน วุจจติ อนนต์
วิญญาณ" ดังนี้ บทว่า "วิญญาเณน" ในคำนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า
เป็นตติยาวิภัติในอรรถแห่งทุติยาวิภัติ เพราะพระอรรถกถาจารย์ทั้งหลาย
พรรณนาความแห่งบทนั้นไปนัยนั้น (ซึ่ง) มีอรรถาธิบาย (ให้แปล
วิญญาเณน ว่า ซึ่งวิญญาณ) ว่า พระโยคาวจรแผ่ (วิญญาณ) ไป
คือทำในใจซึ่งวิญญาณที่สัมผัสอากาศ (นิมิต) นั้นนั่นแหละ หาที่สุด
มิได้
ส่วนในคำว่า "เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะอยู่" นั้น มีอรรถวิเคราะห์
ว่า ที่สุดแห่งวิญญาณนั้นไม่มี เหตุนั้น วิญญาณนั้นจึงชื่อ อนันตะ
อนันตะนั่งเองเป็นอานัญจะ ท่านไม่กล่าววิเคราะห์ว่า วิญญาณเป็น
อานัญจะ ชื่อว่า วิญญาณานัญจะ (แต่) กล่าวว่า "วิญญาณัญจะ
ไปเสีย นี่แหละเป็นรุฬหิศัพท์ (ศัพท์งอก ในอรรถนี้ วิญญาณัญจะ
" หมายความว่าวิญญาณนี้ ก็คือความรู้สึกที่แผ่อยู่ที่อากาศนิมิตนั้นเอง ถึงตอนนี้ เพิกอากาศนิมิต
เสีย ใส่ใจแต่ความรู้สึกที่แผ่อยู่นั้น เพราะอากาศเป็นอนันตะ วิญญาณที่แผ่อยู่ก็พลอยเรียก
อนันตะ ไปด้วย